Page 52 -
P. 52

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
               กนกพร  นุ่มทอง

               ตําราการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน



                                    แบบฝึกหัดที่ ๑๗  แปลประโยคต่อไปนี้เป็นภาษาจีน


                        ๑. ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เปนนอันดับที่ ๕๐ ของโลก  มีเนื้อที่ ๕๑๓,๑๑๕ ตารางกิโลเมตร
                          และมีประชากรประมาณ ๖๖ ล้านคน  มากเปนนอันดับ ๒๐ ของโลก

                        ๒. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชาตั้งอยู่ที่อําเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีพื้นที่
                            ๑๙๙ ไร่

                        ๓. กระทรวงพาณิชย์ได้กําหนดเป้ าหมายการส่งออกข้าวปี พ.ศ.๒๕๕๑ เปนน ๑๐.๐ ล้านตัน
                            มูลค่า ๖,๑๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ
                        ๔. ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ พบผู้ป่วยเบาหวานแล้วถึง ๒๔๖ ล้านคน โดยผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลก ๔ ใน

                            ๕ เปนนชาวเอเชีย
                        ๕. ในยาคูลท์ ๑ ขวดมีจุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัสที่ยังมีชีวิตอยู่ประมาณ ๘ พันล้านตัว



                       ๗. แปลส านวน  สุภาษิต  ค าพังเพยเป็นภาษาธรรมดาหรือใช้ส านวนโวหารที่มีอยู่ใน

                       ภาษาจีนก็ได้  โดยต้องระวังเรื่องความแตกต่างของความหมายและน ้าเสียง


                        การใช้สํานวนโวหารช่วยทําให้ภาษามีเสน่ห์  ทําให้ถ้อยคําที่พูดนั้นกินความมากสามารถสื่อความ
               ให้กระจ่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นสําหรับผู้มีวัฒนธรรมของภาษานั้นๆ ร่วมกัน  หลักการแปลที่ควรยึดถือมีดังนี้


                       ๑) หากเปนนไปได้ควรรักษาสํานวนหรือโวหารภาพพจน์ไว้  เพราะเปนนการดีที่สามารถถ่ายทอด

               วัฒนธรรมให้คนอื่นได้รับรู้  รักษาภาพความคิดหรือการเปรียบเทียบอุปมาอุปไมยในภาษาเดิม  ทําให้ผู้รับ
               สารทราบว่าคนต่างประเทศนั้นมีความความคิดหรือวัฒนธรรมอย่างไร

                       ๒) หากไม่สามารถรักษาสํานวนหรือโวหารภาพพจน์ไว้  ให้รักษาความหมายโดยปรับสํานวน ใน

               กรณีที่ไม่สามารถใช้หลักข้อแรกได้เพราะผู้รับสารจะไม่เข้าใจภาพความคิดหรือการเปรียบเทียบ
               อุปมาอุปไมยนั้นว่ามีความหมายอย่างไร  กนควรเน้นให้คนเข้าใจเปนนหลัก  โดยมุ่งแสดงความคิดในภาษา

               หนึ่งออกเปนนความคิดในอีกภาษาหนึ่ง  คือใช้วิธีพูดที่จะทําให้คนในชาติที่จะอ่านคําแปลนั้นจะพูดหากเกิด

               กรณีเช่นเดียวกัน หาภาพความคิดหรืออุปมาอุปไมยที่ผู้ที่จะอ่านคําแปลนั้นเข้าใจมาใช้

                       ๓) หากไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเปนนภาพความคิดหรือภาพอุปมาอุปไมยในอีกภาษาได้  ให้

               แปลเปนนภาษาธรรมดา  โดยพยายามรักษาจุดมุ่งหมายของสํานวนนั้นๆ เปนนสําคัญ


                    การรักษาสํานวนหรือโวหารภาพพจน์ในภาษาไทยไว้จะทําได้ง่ายในกรณีที่สํานวนภาษาจีนมีภาพ

               ความคิดเหมือนกันหรือคล้ายกันกับสํานวนในภาษาไทยอยู่แล้ว  ไม่ว่าจะเหมือนหรือคล้ายกันโดยบังเอิญ

               หรือได้รับอิทธิพลจากกันกนตาม  เปนนต้นว่า ตบมือข้างเดียวไม่ดัง ซึ่งภาษาจีนพูดตรงกันว่า 一个巴掌拍不响







                                                            ๔๖
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57