Page 50 -
P. 50

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
               กนกพร  นุ่มทอง

               ตําราการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน



               แสน ล้าน  ซึ่งภาษาจีนใช้หลักหมื่นมาเปนนฐานนับเปนน 十万 และ 百万 ตามลําดับ  พอถึงหลักสิบล้าน(แม้

               ภาษาไทยจะมีคําว่า โกฏิ แต่ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้) ภาษาไทยใช้หลักล้านมาเปนนฐานนับ  แต่ภาษาจีนใช้

               หลักหมื่นมาเปนนฐานในการนับหลักสิบล้านว่า 千万 ครั้นพอถึงหลักร้อยล้านขึ้นไป  ภาษาไทยยังใช้หลัก

               ล้านมาเปนนฐานไปเรื่อยๆ ว่า ร้อยล้าน พันล้าน หมื่นล้าน แสนล้าน ล้านล้าน ในขณะที่ภาษาจีนมีคําเฉพาะ
               สําหรับหลักร้อยล้านว่า 亿  และใช้เปนน 十亿、百亿、千亿、亿亿 ตามลําดับ  ระบบความคิดเรื่องตัวเลขใน

               ห้วงสมองของคนไทยกับคนจีนจึงต่างกัน  แม้ดูเผินๆ เรื่องนี้จะเปนนเรื่องง่าย  เพราะเปนนเรื่องที่มีระบบ

               แน่นอน  ไม่สามารถแปลเปนนอย่างอื่นได้  และเปนนเรื่องพื้นฐานที่ผู้สนใจศึกษาการแปลชาวไทยได้ศึกษา

               มาแล้วตั้งแต่เริ่มเรียนภาษาจีน  แต่ในการปฏิบัติจริงแล้วเปนนเรื่องที่ผิดพลาดได้บ่อยที่สุดเรื่องหนึ่ง  ผลที่
               เกิดจากความผิดพลาดนั้น  นอกจากจะทําให้เสียภาพลักษณ์ความเปนนมืออาชีพแล้ว  อาจทําให้การเจรจา

               ติดขัดหรือมีความเข้าใจผิดกันได้มาก  ผู้สนใจศึกษาการแปลจึงควรฝึกกลับตัวเลขให้แคล่วคล่องรวดเรนว ทั้ง

               แบบฝึกข้อเขียนและฝึกอ่านออกเสียง

                       ภาษาไทยและภาษาจีนเปนนภาษาที่มีลักษณนามเช่นกัน  แต่มิได้แปลว่าคําลักษณนามที่มักใช้กับ
               ของประเภทนั้นๆ ในภาษาหนึ่งจะใช้กับของประเภทนั้นๆ ในอีกภาษาหนึ่งได้ทุกคํา  การใช้ผิดมักเกิดกับคํา

               ลักษณนามทั่วๆ ไปที่พบเหนนได้บ่อย  เช่น ตัว อัน ฯลฯ  ซึ่งแม้ในภาษาจีนจะมีลักษณนามอเนกประสงค์

               อย่าง 个 อยู่ กนมิได้หมายความว่าจะใช้ได้เสมอ  เช่น


                       วัวตัวหนึ่ง          一头(黄)牛                ม้าตัวหนึ่ง          一匹马

                       ไก่ตัวหนึ่ง          一只鸡                   ปลาตัวหนึ่ง          一条鱼
                       โต๊ะตัวหนึ่ง         一张桌子                  เก้าอี้ตัวหนึ่ง      一把椅子


                       ในทางกลับกัน  คําที่ภาษาจีนใช้ลักษณนามอเนกประสงค์อย่าง 个 กนอาจมาจากลักษณนาม

               ภาษาไทยต่างๆ กัน  เช่น


                       一个人                  คนคนหนึ่ง             一个鸡蛋                 ไข่ไก่ฟองหนึ่ง
                       一个馒头                 หมั่นโถวลูกหนึ่ง      一个西瓜                 แตงโมผลหนึ่ง
                       一个理由                 เหตุผลข้อหนึ่ง        一个家庭                 ครอบครัวๆ หนึ่ง


                       การแปลข้อเขียนอาจไม่เปนนปัญหามากนัก  แต่การแปลปากเปล่าอาจเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย  จึง

               ควรฝึกฝนให้คล่องแคล่ว

                       อีกประเดนนที่ต้องฝึกฝนให้มากคือ  มาตราชั่ง ตวง วัด  ซึ่งถ้าเปนนมาตราสากลจะมีคําแปลใน
               ภาษาจีนอยู่แล้ว  ไม่มีปัญหามากนัก  แต่หากเปนนมาตราชั่ง ตวง วัดแบบไทย  แม้จะมีคําแปลภาษาจีนอยู่

               แต่กนเปนนที่เข้าใจในวงแคบ  เช่น ในหมู่ชาวไทยเชื้อสายจีน หรือในหมู่ชาวจีนที่มีการติดต่อกับชาวไทยเปนน






                                                            ๔๔
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55