Page 37 -
P. 37

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
                                                                                                            กนกพร  นุ่มทอง

                                                                              ตําราการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน




                       คําว่า กระจก ในประโยคนี้สามารถแปลได้ ๒ อย่าง คือ  玻璃 และ 镜子 กล่าวคือคําแรกหมายถึง

               กระจกใสที่ใช้เปนนหน้าต่าง  คําหลังหมายถึงกระจกเงาสําหรับส่องหน้า  ประโยคนี้หากไม่มีบริบท  ย่อมเปนน

               การยากที่จะระบุให้ชัดเจนได้ว่าหมายถึงคําใด  และควรจะแปลเช่นไร  หากเปนนห้องรับแขกกนน่าจะหมายถึง

               กระจกใส  หากเปนนห้องนอนกนน่าจะหมายถึงกระจกเงา  แต่อาจจะหมายถึงทั้งกระจกใสและกระจกเงาใน
               ประโยคเดียวกันกนเปนนไปได้ในกรณีที่ห้องที่แม่กําลังทําความสะอาดนั้นเปนนห้องซึ่งมีทั้งกระจกเงาและ

               หน้าต่างกระจก  ซึ่งหากเปนนกรณีนี้อาจต้องแปลใส่ไว้ทั้ง ๒ คําจึงจะครอบคลุม


                       妈妈擦完了玻璃和镜子就擦地板。

                       ลักษณะเช่นนี้พบได้บ่อยกับคําที่ใช้ทั่วไป  ตัวอย่างเช่นคําว่า ทิชชู่ หรือ กระดาษทิชชู่ ซึ่งแบ่งเปนน

               หลายประเภทตามประโยชน์ใช้สอย  เช่น  กระดาษเชนดหน้า กระดาษชําระ กระดาษเชนดปาก กระดาษชําระ

               เอนกประสงค์  ในภาษาไทยมักเรียกเหมารวมโดยไม่แยกการใช้งาน  ในภาษาจีนแยกละเอียดเปนน  面纸
               (纸手帕)、卫生纸、餐厅纸、纸毛巾(生活用纸)ตามลําดับ



                       ช่วยหยิบทิชชู่ให้หน่อย

                       麻烦递给我(张、几张、点)面纸/卫生纸/餐厅纸/纸毛巾。

                       ประโยคนี้ถ้ามีสถานการณ์ประกอบ  เช่น  ผู้พูดอยู่หน้ากระจกแต่งหน้าหรือกําลังร้องไห้  ผู้พูดอยู่

               ในห้องนํ้าหรือจะไปห้องนํ้า  ผู้พูดกําลังรับประทานอาหาร หรือ ผู้พูดกําลังทําความสะอาดห้องครัว  กนจะไม่

               เกิดปัญหาในการตีความว่าเปนนกระดาษประเภทใด  หากแปลผิดกนเปนนเพราะความไม่รอบคอบของผู้แปล

               เพราะในความคิดของคนไทย  เหนนว่าเปนนของประเภทเดียวกัน

                       คําที่เปนนนามธรรมจํานวนหนึ่งกนมีปัญหาในลักษณะเดียวกัน  เปน นต้นว่า  คําว่า กตัญญู ใน
               ภาษาไทย  ซึ่งในภาษาจีนนิยมแปลว่า 孝 แต่อันที่จริงแล้ว  คําว่า 孝 ในภาษาจีนมีความหมายแคบกว่า

               กตัญญู ในภาษาไทยมาก

                       มงคลข้อที่ ๒๕ ในมงคล ๓๘ ประการของพุทธศาสนา  กล่าวถึงความกตัญญูไว้ว่าคือการรู้คุณและ

               ตอบแทนท่านผู้นั้น  สิ่งของหรือผู้คนที่ควรกตัญญูนั้นมีดังนี้ ๑) กตัญญูต่อบุคคล  บุคคลที่ควรกตัญญูกนคือ

               ใครกนตามที่มีบุญคุณควรระลึกถึงและตอบแทนพระคุณ เช่น บิดา มารดา อาจารย์เปนนต้น  ๒) กตัญญูต่อ
               สัตว์  ได้แก่สัตว์ที่มีคุณต่อเราช่วยทํางานให้เรา เรากนควรเลี้ยงดูให้ดี เช่นช้าง ม้า วัว  ควาย หรือสุนัขที่ช่วย

               เฝ้ าบ้านเปนนต้น  ๓) กตัญญูต่อสิ่งของ  ได้แก่สิ่งของทุกอย่างที่มีคุณต่อเราเช่น หนังสือที่ให้ความรู้แก่เรา

               อุปกรณ์ทํามาหากินต่างๆ  เราไม่ควรทิ้งขว้าง หรือทําลายโดยไม่เหนนคุณค่า











                                                            ๓๑
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42