Page 30 -
P. 30
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
กนกพร นุ่มทอง
ตําราการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน
บทที่ ๒
หลักและข้อควรระวังในการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน
ในปัจจุบัน มีตําราวิชาการแปลไทย-จีน อยู่จํานวนหนึ่ง ตําราที่น่าสนใจได้แก่ หลักการแปล
ไทย-จีน ของ ก่อศักดิ์ ธรรมเจริญกิจ จัดพิมพ์โดยสํานักพิมพ์จีนสยาม ตําราดังกล่าวลําดับเนื้อหาดังนี้
คือ คํานาม คําสรรพนาม คําบอกจํานวนและลักษณนาม วลี ภาคประธานและภาคแสดง บทจํากัดความ
ประธานและกรรม บทขยายกริยาและคุณศัพท์ บทกรรมและบทเสริม บุพบท บุพบทวลี คําเชื่อม
คําเชื่อมระหว่างอนุประโยค คําเสริมและคําอุทาน และสํานวนโวหาร ผู้สนใจศึกษาการแปลควรจะได้อ่าน
ประกอบการเรียนเพราะจะทําให้สามารถลําดับขั้นตอนการแปลตามโครงสร้างไวยากรณ์อย่างเปนนระบบ
อีกเล่มหนึ่งนั้นได้แก่ แบบเรียนแปลไทย-จีน ของ มหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง
ส านักงานกรุงเทพฯ ซึ่งลําดับเนื้อหาเกี่ยวกับการแนะนําประเทศไทยในด้านต่างๆ เช่นขนบธรรมเนียม
ประเพณี วันเทศกาล ลักษณะเด่นของคนไทย อาหารการกิน การเมือง ศาสนา และการศึกษา เปนนต้น
เปนนตําราที่มีเป้ าหมายเพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านการใช้ภาษาจีนและการแปลภาษาจากไทยเปนนจีนของผู้เรียน
โดยผ่านการเรียนรู้วิธีการแปลจากเนื้อหาของบทเรียนที่ได้เรียบเรียงมา ผู้สนใจศึกษาการแปลควรจะได้
อ่านประกอบการเรียนเพราะจะทําให้ได้ศัพท์ที่เกี่ยวข้อง ได้ความรู้ในด้านต่างๆ เกี่ยวกับประเทศไทย และ
สามารถแนะนําประเทศไทยเปนนภาษาจีนได้ นอกจากนั้นยังมีตํารา ทฤษฎีและปฏิบัติการการแปลไทย
เป็นจีน หรือ 泰汉翻译理论与实践 ของเหลียงหยวนหลิง 梁源灵 สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยฉงชิ่ง เปนนตํารา
สําหรับนักศึกษาชาวจีนที่เรียนภาษาไทยในระดับมหาวิทยาลัย ตัวอย่างประกอบในปฏิบัติการการแปลมี
เนื้อหาหนักไปในทางการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
บทที่ ๒ ของตําราที่อยู่ในมือท่านขณะนี้มิได้เสนอหลักการแปลภาษาไทยเปนนภาษาจีนในแบบ
ลําดับขั้นตอนไวยากรณ์ เนื่องจากมีตําราที่ดีอยู่แล้วดังที่กล่าวมาข้างต้น แต่ตําราเล่มนี้ต้องการเอ่ยถึงหลัก
และข้อควรระวังในการแปลภาษาไทยเปนนภาษาจีน เพื่อช่วยให้ผู้สนใจศึกษาการแปลซึ่งเปนนชาวไทยเกิด
ความระมัดระวังและเข้าใจกลวิธีพื้นฐานที่จะช่วยแก้ไขปัญหาและคลี่คลายอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการ
แปลภาษาไทยเปนนภาษาจีน ตัวอย่างประกอบในปฏิบัติการการแปลทั้งในบทนี้และบทต่อๆ ไป เปนน
ตัวอย่างในชีวิตประจําวันและการทํางาน อย่างไรกนดี ผู้สนใจศึกษาการแปลควรจะได้อ่านตําราทั้งสามเล่มที่
ได้เอ่ยถึงข้างต้นนั้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้และวงคําศัพท์ของตน
หลักการแปลพื้นฐานนั้นเปนนสากล ไม่ว่าจะใช้กับการแปลจากภาษาใดเปนนภาษาใด กนต้องมุ่งเน้น
ความถูกต้องชัดเจนเปนนสําคัญ จากนั้นกนขัดเกลาให้สละสลวย การแปลจากภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่ง
ให้ตรงกัน สมบูรณ์ทั้งด้านความหมาย ความเหมาะสมในเรื่องระดับคํา ตลอดจนนํ้าเสียงที่ใช้นั้นเปนนเรื่อง
๒๔