Page 29 -
P. 29
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
กนกพร นุ่มทอง
ตําราการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน
ลาม หากเราเปนผูรับฟงที่รูภาษาทั้งสองภาษา ก็สามารถชวยใหคําแนะนําลามเมื่อติดขัดไดโดยใชทาที
นุมนวลและเขาใจปญหา พึงระลึกวา หากเรากําลังปฏิบัติหนาที่ลามอยูเอง ก็อาจติดขัดเชนเดียวกัน
๑๐.ไมหวั่นไหวตอคําชมเชยและคําตําหนิ
การทํางานใดๆ ก็ตามตองเผชิญกับทั้งคําชมเชยและคําตําหนิ หากจิตหวั่นไหวไปในทางใดทาง
หนึ่งมาก ก็ยอมออกนอกเสนทางหรือหลักปฏิบัติที่ตั้งใจไว หากไดรับคําชมเชยมากแลวหลงระเริงวาตน
เกงแลว ยอมทําใหเกียจครานในการแสวงหาความรูเพิ่มเติมหรือประมาทไมคนควาในสิ่งที่ไมเขาใจชัดเจน
เปนเหตุใหเสียโอกาสในการพัฒนาตน และทําใหงานเสียหายได ในทางกลับกัน หากไดรับคําตําหนิ ก็
อยาทอถอย หมดกําลังใจและลมเลิกความตั้งใจในการประกอบอาชีพนักแปล ไมวาไดรับคําชมเชยหรือ
คําตําหนิ สิ่งที่ควรสนใจคือรายละเอียดประกอบวาดีในจุดใดหรือบกพรองในจุดใด จะไดนํามาวิเคราะห
หาแนวทางพัฒนาได
การแปลหนังสือในทุกวันนี้ ชองทางไดรับคําชมเชยหรือตําหนิจากผูอานมีกวางขวาง โดยเฉพาะ
อยางยิ่งการแสดงความคิดเห็นในเว็บบอรดตางๆ เปนขอมูลที่มีประโยชนตอการพัฒนาผลงาน แต
บางครั้งก็เจือฉันทาคติหรืออคติมากเกินไป ถอยคําสํานวนอยางเดียวกัน ผูอานบางคนชอบ บางคนไม
ชอบ ทําใหนักแปลใหมลังเลวาจะปรับปรุงผลงานอยางไรดี ตองศึกษาคนควาแลวใชวิจารณญาณใหมาก
ผูอานบางคนชอบสํานวนการแปลที่ติดกลิ่นอายของภาษาตนฉบับ แมวาจะเปนภาษาที่ไมถูกตองตาม
หลัก ในทางกลับกัน ก็มีผูอานบางคนชอบสํานวนที่ไมติดกลิ่นอายของภาษาตนฉบับ เพราะอานเขาใจ
งาย สิ่งที่เกิดขึ้นไดเสมอคือ ผูอานนิยมนํางานของนักแปลใหมไปเทียบกับงานของนักแปลที่ตนชอบ แลว
เรียกรองใหนักแปลใหมลอกเลียนสํานวนการแปลของนักแปลที่ตนชอบ บางครั้งนักแปลใหมก็พบวา
สํานวนการแปลที่ผูอานบางสวนเรียกรองนั้น ดูจะมิใชสํานวนการแปลที่ดีถึงขั้นเปนงานชั้นครูไดจริงๆ ทํา
ใหรูสึกสับสนและเสียกําลังใจไดมาก นักแปลพึงระลึกวา ถอยคําสํานวนในตนฉบับมีความหลากหลาย
กลุมผูอานก็หลากหลาย การรับฟงความคิดเห็นของผูอานนั้นเปนสิ่งจําเปน แตมิใชใหนําไปปฏิบัติตาม
เสมอโดยไมพิจารณา ผูแปลตองแสวงหาแนวทางที่เหมาะสมกับงานแปลแตละชิ้นดวย
แนวทางพัฒนาตน ๑๐ ประการขางตนนี้ครอบคลุมทั้งดานความรูและจริยธรรม ผูมีใจรักงาน
แปลและตั้งเปาหมายจะเปนนักแปลที่ดีพึงตระหนักถึงทั้งสองดานนี้ควบคูกันไป
๒๓