Page 24 -
P. 24

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
               กนกพร  นุ่มทอง

               ตําราการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน




               สัญฉวี  สายบัว  ระบุวางานแปลที่มีคุณภาพนั้นประกอบดวยคํา  ประโยคและวิธีการเรียงคํา  เรียงประโยค

               ที่ผูแปลไดเลือกสรรมาใชสื่อความหมายทั้งมวลที่มีอยูในตนฉบับไดอยางครบถวน  ความหมายทั้งมวลนี้

               หมายถึง  ความคิดหรือขอมูลอันเปนเนื้อหาของตนฉบับ  รวมทั้งความหมายตามนัยตางๆ  และรสชาติของ

               ตนฉบับ  ภาษาในฉบับแปลรื่นหูและเปนธรรมชาติ  อานแลวรูเรื่อง  ผูอานจับความหมายได  สามารถทําให
               ผูอานฉบับแปลเกิดผลสนองตอบไดเทียบเคียงกับที่ตนฉบับทํากับผูอานตนฉบับ  นักแปลที่จะผลิตงานแปล

               ที่มีคุณภาพดังที่วานั้นตองมีคุณสมบัติ  ๔  ประการ  คือ  (๑)  ความสามารถในการใชภาษาทั้ง

               ภาษาตนฉบับ  และภาษาฉบับแปล  (๒)  ความรู  และภูมิหลังของเรื่องราวในตนฉบับ  (๓)  ความสามารถ

               ในการเอาตัวเองเขาไปแทนที่ผูเขียนตนฉบับ  และ  (๔)  ศิลปะทางการเขียน (สัญฉวี  สายบัว,  ๒๕๕๐:
               ๑๔)

                       จะเห็นไดวา  งานแปลที่มีคุณภาพมีมาตรฐานสูง  การจะเปนนักแปลที่ผลิตงานที่มีคุณภาพก็ตองมี

               คุณสมบัติสําคัญหลายประการ  มิใชเพียงรูภาษาตางประเทศดีก็จะเปนได  ฉะนั้นผูที่มีใจรักในงานแปล

               ตองฝกฝนตนเองอยางหนัก  ผูเขียนประมวลประสบการณจากการสอนวิชาการแปล  การปฏิบัติจริง  และ
               การแลกเปลี่ยนทัศนะกับนักแปลจํานวนหนึ่งและสรุปแนวทางพัฒนาตนสําหรับนิสิตนักศึกษาและผูสนใจ

               งานแปลชาวไทยที่มุงมั่นจะเปนนักแปลที่มีคุณภาพ  ทั้งแปลภาษาจีนเปนภาษาไทยและแปลภาษาไทยเปน

               ภาษาจีนไว  ๑๐  ขอ  ดังตอไปนี้


                       ๑.  หมั่นพัฒนาความสามารถในการใชภาษาทั้งภาษาไทยและภาษาจีน

                       นักแปลตองเขาใจตนฉบับอยางถองแท  และยังตองมีความสามารถในการใชภาษาฉบับแปล  จึง

               จะสามารถผลิตงานที่มีคุณภาพได  ผูสนใจงานแปลชาวไทยที่เรียนภาษาจีน  ยอมตระหนักถึงความสําคัญ

               ในการพัฒนาความสามารถทางภาษาจีนของตนอยูแลว  จึงขวนขวายที่จะพัฒนาตนดวยวิธีการตางๆ  แต

               มักจะละเลยความสําคัญของภาษาไทยอันเปนภาษาแม  อันที่จริงแลว  การจะเปนนักแปลที่ดีจะเชี่ยวชาญ
               แตภาษาจีนไมได  หากจะแปลภาษาจีนเปนภาษาไทย  ตองมีความรูภาษาไทยดี  ทั้งในเรื่องพื้นฐานเชน

               การสะกดคํา  ไปจนถึงการสรรคํา  การเรียงประโยค  รูจักใชเครื่องมือที่จําเปน  เปนตนวา  เครื่องมือสืบคน

               ตางๆ  พจนานุกรมทั้งแบบหนังสือและพจนานุกรมออนไลน  ศึกษาเกณฑการถอดเสียงแบบตางๆ  เชน

               ของราชบัณฑิตยสถาน  หรือของสํานักนายกรัฐมนตรี  เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดขอผิดพลาดในการถอดเสียง

               โดยเฉพาะการผันเสียงวรรณยุกต  เลือกอานหนังสือที่ไดรับการยกยองวาสํานวนดี  ฝกเขียนและฝกแปล
               หนังสือบอยๆ  และหมั่นตรวจสอบภาษาไทยของตนวาใชไวยากรณหรือถอยคําสํานวนเปนแบบภาษาจีน

               หรือไม  เพราะลักษณะที่พบบอยของผูเรียนชาวไทยที่เรียนภาษาจีนตั้งแตระดับกลางเปนตนไปก็คือ  มัก

               ติดรูปประโยคภาษาจีนทําใหภาษาไทยวิบัติหรืออานแลวติดขัด  บางครั้งยึดติดกับตนฉบับมากเกินไป  ก็ทํา

               ใหไมสื่อความ  เมื่อแปลภาษาจีนเปนภาษาไทยแลว  ผูอานที่ไมมีความรูภาษาจีนอานไมเขาใจ







                                                            ๑๘
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29