Page 25 -
P. 25

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
                                                                                                            กนกพร  นุ่มทอง

                                                                              ตําราการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน




                       ในทางกลับกัน  หากตองแปลภาษาไทยเปนภาษาจีน  ก็ยังตองใหความสําคัญกับภาษาไทยอยูดี

               เพราะภาษาไทยเปนภาษาที่กํากวมสูง  เพราะไมมีวิภัตติปจจัย  ตองพยายามจับสารใหชัดเจน  คําที่ดู

               เหมือนงายอาจจะเปนคําที่แปลยากที่สุดในงานชิ้นนั้นก็ได


                       ๒.  หมั่นหาความรูในศาสตรตางๆ  อยูเสมอ

                       การแปลเปนการถายทอดความหมายจากภาษาหนึ่งไปสูอีกภาษาหนึ่ง  ภาษาเปนแตเพียง

               เครื่องมือในการสื่อสาร  ความเชี่ยวชาญทักษะฟง  พูด  อาน  เขียน  ทั่วไปไมเพียงพอสําหรับการแปล  ตอง

               ศึกษาประวัติศาสตร  ภูมิศาสตร  สภาพเศรษฐกิจ  สถานการณทางการเมือง  การตางประเทศ
               ความกาวหนาทางวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี  สภาพสังคมและวัฒนธรรม  ความคิดอานของชาวไทยและ

               ชาวจีน  ตลอดจนวิธีการแสดงออกซึ่งความคิดที่แตกตางกันระหวางคนสองชาติ  ทั้งยังตองรูจักติดตาม

               ขาวสารบานเมือง  หรือความเคลื่อนไหวตางๆ  ตลอดจนศัพทใหมๆ  เนื้อหาของงานแปลเกี่ยวของกับ

               ศาสตรหลายแขนง  ความรอบรูจะชวยใหเขาใจเนื้อหาในตนฉบับไดดียิ่งขึ้น

                       ๓.  กลาทดลองแปลงานที่ตางออกไปจากงานที่เคยทํา  โดยพิจารณาขอจํากัดตางๆ  ประกอบการ

               ตัดสินใจ

                       นักแปลจํานวนมากปฏิเสธงานในลักษณะที่ตนเองไมเคยทํามากอน  รับแตงานที่คลายคลึงงาน

               เดิม  สาเหตุหลักคือ  เพราะยึดติดกับสิ่งที่คุนเคย  มองวางานอื่นยาก  และไมอยากเริ่มตนเรียนรูใหม
               ลักษณะเชนนี้เกิดขึ้นกับนักแปลที่เห็นวาตนทําไดดีในงานประเภทใด  ก็ทําแตงานประเภทนั้นซ้ําเรื่อยไป

               ทําใหเสียโอกาสในการพัฒนาตนเอง  และที่นาเสียดายยิ่งไปกวาคือ  งานบางประเภทซึ่งนาจะมีประโยชน

               ตอประเทศชาติหรือตอคนหมูมาก  เชนงานแปลเฉพาะทางดานวิทยาศาสตรเทคโนโลยี  หรือการเกษตร

               กลับมีผูรับแปลนอยมาก
                       งานแปลเฉพาะทางหากแปลโดยผูรูในศาสตรนั้นๆ  ที่มีความรูภาษาตางประเทศดี  ยอมนาจะ

               ถูกตองแมนยํากวานักแปลที่เรียนทางดานภาษามาแตไมมีความรูในศาสตรอื่น  สําหรับบางภาษา  การหา

               นักแปลเฉพาะทางอาจเปนเรื่องที่พอกระทําได  แตทั้งในประเทศไทยและประเทศจีน  ผูเรียนมาโดยตรงใน

               แตละศาสตร  โดยที่มีความรูภาษาจีนและภาษาไทยดีมีนอยมาก  แตความสัมพันธระหวางทั้งสองประเทศ
               แนบแนนทั้งในดานสังคมวัฒนธรรม  เศรษฐกิจ  วิทยาศาสตรเทคโนโลยี  การเกษตร  ฯลฯ  โอกาสที่จะ

               ไดรับงานแปลเฉพาะทางมีสูง  ถาพิจารณาปจจัยดานเวลา  เนื้อหา  และความสามารถของตนแลวเห็นวา

               พอมีความเปนไปได    ผูสนใจในงานแปลก็ไมควรปดกั้นโอกาสที่จะพัฒนาความสามารถของตนเอง

               อยางไรก็ดี  เนื่องจากการแปลเฉพาะทางมีโอกาสผิดพลาดสูง  จึงควรทํางานเปนคณะ  คือ  นอกจากนัก

               แปลแลว  ยังตองมีที่ปรึกษาที่เปนผูเชี่ยวชาญในศาสตรเฉพาะทาง  และถาจะใหดี  ควรมีผูตรวจสอบภาษา








                                                            ๑๙
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30