Page 21 -
P. 21

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
                                                                                                            กนกพร  นุ่มทอง

                                                                              ตําราการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน




                       จีนมีการศึกษาดานการแปลไวมาก  ที่กลาวถึงขางตนนี้มีเฉพาะที่มีอิทธิพลสูงเทานั้น  อยางไรก็ดี

               มาตรฐานการแปลตางๆ ในปจจุบัน  แมจะมีผูเอยถึงไวหลากหลาย  แตก็ไมไดฉีกแนวหรือแหวกกรอบไป

               จากมาตรฐาน “ถูกตอง-สื่อความ-งามตามแบบแผน”  ของเหยียนฟูเทาใดนัก  จะมีก็แตการถกเกี่ยวกับ

               ความหมายของ   “ถูกตอง-สื่อความ-งามตามแบบแผน”  วาหมายความอยางใดกันแน  โดยเฉพาะอยางยิ่ง
               กับคําวา  “งามตามแบบแผน”  ซึ่งผูเขาใจและตีความตางกันเปนหลายประการ  โดยสรุปแลว  แมจะมีผูถก

               เกี่ยวกับมาตรฐาน “ถูกตอง-สื่อความ-งามตามแบบแผน” ของเหยียนฟูอยูมาก  โดยเฉพาะกับเรื่อง  “งาม

               ตามแบบแผน”  แตก็ไมมีผูสามารถเสนอมาตรฐานอื่นที่ไดรับการยอมรับโดยทั่วกัน  มาตรฐาน “ถูกตอง-สื่อ

               ความ-งามตามแบบแผน” ของเหยียนฟูจึงยังนับเปนมาตรฐานสูงสุดในดานการแปลของจีน

                       อยางไรก็ดี  ในฐานะผูศึกษาการแปลและมุงหวังจะพัฒนาตนเปนนักแปลที่มีคุณภาพ  พึง
               ตระหนักวาไมมีมาตรฐานการแปลใดที่จะกลาวไดวา  “ดีที่สุด”  และสามารถนํามาใชเปน

               มาตรฐานการแปลเดียว  มาตรฐานการแปลที่เหมาะสมนั้นขึ้นอยูกับงานแปลแตละชิ้นซึ่งมีปจจัยตางกัน

               ทั้งตัวเนื้องาน  ภาษาและกลุมเปาหมาย  เปนตนวางานแปลทั่วไปยอมมีมาตรฐานการแปลตางจากงาน
               แปลวรรณกรรมซึ่งตองใชความประณีตบรรจงและยากกวา  มาตรฐานการแปลขั้นสูงเปนตนวา  “งามตาม

               แบบแผน”  “เหมือนทางจิตวิญญาณ”  หรือ  “แปลงสภาวะ”  ฯลฯ  ที่ไดเอยมาขางตนนั้นอาจเปนมาตรฐาน

               ในอุดมคติสําหรับงานวรรณกรรมหรืองานแปลขั้นสูงอื่น  แตไมจําเปนหรือจําเปนนอยสําหรับการแปลทั่วไป
               ที่สําคัญคือ  ขอจํากัดทางภาษาเปนเหตุใหผูศึกษาการแปลชาวไทยที่จะแปลภาษาไทยเปนภาษาจีนนั้นไม

               ควรเริ่มตนจากการแปลงานวรรณกรรมอยูแลว  ผูศึกษาการแปลชาวไทยที่จะแปลภาษาไทยเปนภาษาจีน

               อาจพิจารณายึดมาตรฐานการแปลวาดวยความถูกตองและสื่อความหรือถูกตองและสละสลวยเปนพื้นฐาน


                       ประเภทของการแปล
                       การจัดประเภทนั้นยอมขึ้นอยูกับวาจะใชเกณฑใด  ในที่นี้จัดประเภทการแปลโดยแยกตามมุมมอง

               ตามหนังสือ 综合英汉翻译教程 ของ 王述文ดังนี้

                       ๑.  มุมมองของสัญลักษณทางภาษา

                       สามารถแยกไดเปน  การแปลภายในภาษา  การแปลระหวางภาษา  และการแปลสัญลักษณ
                       การแปลภายในภาษาหมายถึงการแปลภาษาคนละประเภทกันในภาษาเดียวกันเปนอีกภาษาหนึ่ง

               เปนตนวา  การแปลภาษาจีนโบราณเปนภาษาจีนปจจุบัน  การแปลภาษาจีนปจจุบันเปนภาษาจีนโบราณ

               หรือการแปลภาษาถิ่นเปนภาษาราชการ  เปนตน

                       การแปลระหวางภาษาหมายถึงการแปลจากภาษาหนึ่งไปเปนอีกภาษาหนึ่ง  เชน  แปลภาษาไทย

               เปนภาษาจีน  แปลภาษาจีนเปนภาษาไทย  เปนตน










                                                            ๑๕
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26