Page 18 -
P. 18

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
               กนกพร  นุ่มทอง

               ตําราการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน




               คนจีนนิยมใชตันติภาษาในการเขียนมาตลอด  งานเขียนที่ใชภาษาสามัญนั้นมีบาง  เชน  นิยายหรือบท

               อุปรากร  แตไมไดรับการยกยองเทางานเขียนที่ใชตันติภาษา  จนกระทั่งขบวนการสี่พฤษภาคม ค.ศ.๑๙๑๙

               จึงเกิดความเคลื่อนไหวรณรงคใหใชภาษาสามัญในการเขียนแทนภาษาโบราณ  เหยียนฟูเสนอมาตรฐาน

               การแปลนี้กอนหนาขบวนการสี่พฤษภาคมเปนเวลานาน  การสนับสนุนใหแปลดวยตันติภาษาจึงเปนเรื่องที่
               เขาใจได เนื่องจากยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป  จึงมีนักวิชาการจํานวนมากเห็นวาทัศนะนี้พนสมัยไปแลว

               อยางไรก็ดี  หากเราตีความเจตนาของเหยียนฟู  การใชภาษางามตามแบบแผนก็เปนไปเพื่อใหงานเขียนนั้น

               ถายทอดความลึกซึ้งของตนฉบับไดดีและมีอิทธิพลตอผูอาน  เราสามารถนํามาตรฐานการแปลนี้มา

               ประยุกตใชไดในปจจุบัน  เพียงแตตองเขาใจวาความงามตามแบบแผนนั้นยอมตางกันไปตามยุคสมัยและ
               สังคม

                       ในประวัติศาสตรการแปลจีน  มีนักแปลผูยิ่งใหญอีกทานหนึ่งที่อยูรวมยุคกับเหยียนฟู  ไดแกหลินซู

               林纾  (ค.ศ.๑๘๕๒-๑๙๑๔)  หลินซูไมรูภาษาตางประเทศ  แตแปลวรรณกรรมตางประเทศเปนภาษาจีนกวา

               หนึ่งรอยแปดสิบเรื่อง  โดยใชวิธีใหเพื่อนแปลเลาวรรณกรรมเปนภาษาจีน  หลินซูเปนผูเขียนเรียบเรียง
               สํานวนภาษาขึ้นใหมโดยมีการแกไขดัดแปลง  เพิ่มเติม  ตัดทอนขอความใหเขากับผูอานชาวจีน  ผลงาน

               ของหลินซูไดรับการโจมตีจากคนยุคหลังวาไมรักษาตนฉบับ  แตในยุคนั้นไดรับความนิยมจากผูอานอยาง

               กวางขวาง  ถือเปนนักแปลที่มีอิทธิพลตอการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมจีนกับตะวันตกอยางมาก


                       มาตรฐานการแปลในยุคการแปลเปนภาษาสามัญ

                       ประเทศจีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเปนระบบสาธารณรัฐในป ค.ศ.๑๙๑๑  และหลังจากนั้นไมกี่

               ป  ก็เกิดขบวนการสี่พฤษภาคม ค.ศ.๑๙๑๙  เปนการพลิกประวัติศาสตรวงการเขียนของจีน  โดยเกิดการ

               รณรงคใหใชภาษาสามัญในการเขียนแทนภาษาโบราณ  ในยุคสาธารณรัฐ  การแปลหนังสือเฟองฟูยิ่งกวา

               สมัยราชวงศชิง  เกิดนักแปลและนักทฤษฎีการแปลขึ้นมาก  เรียกไดวาเปนยุคแหงการวิพากษการแปลใน
               อดีต  โดยเฉพาะการแปลของเหยียนฟูและหลินซู  ผูที่มีบทบาทสําคัญในการวิพากษทฤษฎีการแปลและ

               มาตรฐานการแปลในยุคนั้นไดแก หูซื่อ 胡适  (ค.ศ.๑๘๙๑-๑๙๖๒)  นักวิชาการผูมีชื่อเสียงซึ่งเปนหนึ่งใน

               ผูนําการปฏิรูปวรรณกรรมจีน  หูซื่อไดเขียนบทความลงในวารสารยุวชนใหม 新青年เมื่อป ค.ศ.๑๙๑๘

               เสนอใหมีการแปลวรรณกรรมตางประเทศเปนภาษาจีนจํานวนมาก  เพื่อเปนการเตรียมพรอมและเปน

               แบบอยางใหแกวรรณกรรมใหมของจีน (胡适《建设的文学革命论》ใน 欧阳哲生,1998: 55)    หูซื่อเห็นวา
               การแปลวรรณกรรมตะวันตกในขณะนั้นยังไมประสบผลสําเร็จเทาที่ควร  จึงเสนอทัศนะสําคัญสองประการ



               执礼,皆雅言也。หมายความวา เวลาขงจื๊ออานคัมภีรซือจิง  คัมภีรซูจิง  และทําพิธีตางๆ  ลวนใชภาษากลาง  ภาษากลางในที่นี้หมายถึงภาษาที่ใชแถบนคร
               หลวงของราชวงศโจว  หากจะตีความทัศนะของเหยียนฟูวาหมายถึง  ภาษากลาง  ก็เขาเคาเชนกัน  เพราะการแปลทั่วไปมุงหมายใหคนทั้งประเทศอานรูเรื่อง  หากใชภาษา
               ทองถิ่นจะเปนอุปสรรคได  แตที่ในตําราเลมนี้  ผูเขียนเลือกตีความวาหมายถึงภาษาโบราณเพราะขอความตอมาของเหยียนฟู  คือ  ใชภาษาสมัยฮั่นสื่อความหมายไดดีกวา
               ภาษาปจจุบัน  เปนการตีความตามบริบท






                                                            ๑๒
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23