Page 15 -
P. 15
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
กนกพร นุ่มทอง
ตําราการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน
จะทับศัพทภาษาสันสกฤตในหากรณี ไดแก เมื่อเปนคาถาหรือถอยคําศักดิ์สิทธิ์ เมื่อเปนศัพทที่มี
ความหมายหลายอยาง เมื่อเปนสิ่งที่ไมมีในประเทศจีน เมื่อมีการทับศัพทมานานจนเปนที่นิยมแลว และ
เมื่อตองการใหเกิดความนาเชื่อถือเหมาะแกการเผยแผพระธรรม (周敦义《翻译名义集序》转引自陈富
康,2000: 33-34)มาตรฐานการแปลและเทคนิคการแปลของทานยังสามารถนํามาปรับใชไดในยุคปจจุบัน
สมัยราชวงศซงมีการแปลพุทธคัมภีรอยูบาง แตไมไดรุงเรืองเหมือนดังในสมัยถัง พอถึงราชวงศซง
ใตก็ไมพบการแปลคัมภีรในบันทึกประวัติศาสตร สมัยราชวงศหยวนมีการแปลพุทธคัมภีรภาษาฮั่นและ
ภาษาสันสกฤตเปนภาษามองโกล แตมีจํานวนเพียงสิบกวาปกรณ ในสมัยราชวงศหมิงมีการแปลพุทธ
คัมภีรเพียงไมกี่ปกรณ เมื่อถึงสมัยราชวงศชิง การแปลเปนการแปลระหวางภาษาชนชาติตางๆ ใน
ประเทศจีน เปนตนวาแปลคัมภีรภาษาธิเบตเปนภาษามองโกล ภาษาแมนจู หรือภาษาฮั่น และมีจํานวน
ไมมากนัก
มาตรฐานการแปลในยุคการแปลหนังสือตะวันตก
การแปลพุทธคัมภีรในสมัยราชวงศหมิงเสื่อมโทรมลง แตมิไดแปลวาจีนจะไมใสใจการแปล
ตรงกันขาม นับแตปลายยุคราชวงศหมิงเปนตนมา การแปลในประเทศจีนกาวหนามาก เพียงแตเรื่องที่
แปลนั้นเปนการแปลหนังสือวิทยาการของตะวันตกเปนภาษาจีน มัตเตโอ ริชชี่ Matteo Ricci (ค.ศ.
๑๕๕๒-๑๖๑๐) มิชชันนารีคณะเยซูอิตจากอิตาลีเดินทางมาถึงประเทศจีนในป ค.ศ.๑๕๘๒ ตอมาไดรับ
พระราชทานพระราชานุญาตจากจักรพรรดิวั่นลี่ใหเผยแผศาสนาคริสตในประเทศจีนได นับจากนั้นจนถึง
สมัยจักรพรรดิยงเจิ้ง (ครองราชยระหวางค.ศ.๑๗๒๓-๑๗๓๕) แหงราชวงศชิง ก็มีมิชชันนารีจากตะวันตก
จํานวนมากมาเผยแผศาสนาในประเทศจีน นอกจากการแปลพระคัมภีรเปนภาษาจีน ทานเหลานี้ยังได
รวมมือกับนักวิชาการชาวจีน แปลหนังสือตะวันตกเปนภาษาจีนจํานวนมาก หนังสือเหลานี้มีเนื้อหา
หลากหลาย เปนตนวาดาราศาสตร คณิตศาสตร ภูมิศาสตร ฟสิกส ชีววิทยา ฯลฯ มีคุณูปการในดาน
การเผยแพรวิทยาการตะวันตกเขาสูประเทศจีน และยังไดแปลหนังสือจีนเปนภาษาตะวันตก หนังสือแปล
ที่มีชื่อเสียงที่สุดไดแก จี่เหอหยวนเปน 几何原本 ซึ่งแปลจาก The Elements ของยูคลิด Euclid (๓๓๐ป
กอนคริสตกาล-๒๗๕ ปกอนคริสตกาล) นักคณิตศาสตรชาวกรีก ผูแปลคือมัตเตโอ ริชชี่ กับ
นักวิทยาศาสตรชาวจีนชื่อ สีวกวงฉี่ 徐光启 (ค.ศ.๑๕๖๒-๑๖๓๓)
เมื่อถึงสมัยราชวงศชิง มาตรฐานการแปลกาวหนาขึ้นมาก ทฤษฎีที่นาสนใจไดแกทฤษฎีของหมา
เจี้ยนจง 马建忠 (ค.ศ.๑๘๔๔-๑๙๐๐) และเหยียนฟู 严复 (ค.ศ.๑๘๕๔-๑๙๒๑)
หมาเจี้ยนจงมีความรูแตกฉานทั้งดานจีนวิทยาและยังสนใจศาสตรตางๆ ของตะวันตก ครอบครัว
นับถือศาสนาคริสตนิกายโรมันคาธอลิค ไดรับการศึกษาแบบจีนคูกับการศึกษาวิทยาการตะวันตก รูทั้ง
ภาษาลาติน ฝรั่งเศส อังกฤษ และกรีก ตอมาไดรับราชการในราชสํานักชิง กอนจะไดรับทุนไปศึกษาดาน
๙