Page 12 -
P. 12
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
กนกพร นุ่มทอง
ตําราการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน
คําพูดกับขอเท็จจริงดังกลาวอาจจะมาจากการที่ผูแปลตางยุคสมัยมีความเขาใจตอ “การแปลตรงตาม
ตนฉบับ” ตางกัน นักแปลกอนหนายุคจือเชียนมักเปนภิกษุตางชาติ มีอุปสรรคดานภาษา จําตองแปล
ตรงตามตนฉบับทุกถอยกระทงความ ในขณะที่แมจือเชียนจะมิใชชาวจีนโดยเชื้อชาติ แตกําเนิดใน
ประเทศจีน มีความรูภาษาจีนดี ยอมไมพอใจกับการใชภาษาที่ผิดไปจากภาษาจีนแทๆ การแปลตรงโดย
“ยึดตามเนื้อเดิม ไมเสริมใหงาม” ของจือเชียนนั้นยอมสละสลวยกวาการแปลตรงตามตนฉบับทุกถอย
กระทงความของภิกษุอินเดีย สวนที่วาสํานวนแปลของจือเชียนไมตรงตามตนฉบับนั้น อาจเปนเพราะ
ความเขาใจที่จือเชียนมีตอตนฉบับตางกับที่คนรุนหลังเขาใจ ไมเกี่ยวของกับวิธีการแปล (朱志瑜、朱晓农,
2006: 6)
มาตรฐานการแปลของจีนเจริญกาวหนามากในสมัยของภิกษุชาวจีนชื่อเตาอัน 道安 (ค.ศ.๓๑๔-
๓๘๕) พระเตาอันเปนพระเถระผูใหญ เปนที่เลื่อมใสของฝูเจียน 符坚 จักรพรรดิแหงราชวงศฉินตอนตน
เปนอยางมาก ทานไดจัดตั้งสนามแปลโดยไดรับการสนับสนุนจากราชสํานัก สนามแปลหมายถึงการแปล
ที่ทําเปนหมูคณะ มีสถานที่ทําการแปลแนนอน เนื่องจากพระเตาอันไมรูภาษาสันสกฤต ตองเชิญพระ
ธรรมทูตมาเปนประธานการแปล ทานเกรงวาขอความในฉบับแปลจะคลาดเคลื่อนไปจากตนฉบับ จึง
เสนอใหถายทอดตรงตามตนฉบับ อยางไรก็ดี เนื่องจากพระเตาอันไดรวมงานการแปลอยางใกลชิด ทําให
ทานตระหนักถึงปญหาความยากลําบากของการแปลคัมภีร จึงไดแสดงทัศนะเกี่ยวกับการแปลพุทธคัมภีร
ไวหลายแหงดวยกัน ทัศนะที่มีชื่อเสียงที่สุดและมีอิทธิพลตอรุนหลังไดแกหลักหาเสียเดิม สามไมงาย 五失
本,三不易
หลัก “หาเสียเดิม สามไมงาย” ของพระเตาอันไดมาจากการคนพบวายากที่จะทําให
ภาษาตนฉบับกับภาษาฉบับแปลสอดคลองกัน เนื้อหาโดยยอคือ
หาเสียเดิม
๑. การเรียงประโยคในภาษาสันสกฤตตางกับภาษาจีน หากเรียงประโยคใหมตามภาษาจีน ก็
ยอมสูญเสียลําดับในภาษาสันสกฤต รสของตนฉบับยอมเปลี่ยนแปลงไป
๒. ถอยคําในพุทธคัมภีรเรียบงาย แตภาษาจีนนิยมสํานวนงดงาม การแปลตองทําใหเหมาะกับ
ผูอาน จําเปนตองแตงสํานวนใหสละสลวย ทําใหเสียรสของตนฉบับ
๓. ถอยคําในพุทธคัมภีรเนนความละเอียดพิสดาร ซ้ําไปมาสามสี่รอบโดยไมเบื่อหนาย ฉบับแปล
ตัดทิ้ง ยอมทําใหเสียรสเดิม
๔. พุทธคัมภีรมีการใชคาถาสรุปเนื้อหาที่กลาวมาขางตน โดยไมมีสิ่งใดตางกัน ยาวถึงหารอย
หรือพันอักษร ฉบับแปลตัดทิ้ง ยอมทําใหเสียรสเดิม
๖