Page 13 -
P. 13

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
                                                                                                            กนกพร  นุ่มทอง

                                                                              ตําราการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน




                       ๕.  พุทธคัมภีรมีการกลาวเรื่องใดเรื่องหนึ่งจบแลวคอยกลับไปพูดถึงเรื่องอื่น  จากนั้นก็ยอนกลับมา

               ทวนเรื่องเกาซ้ํา  ฉบับแปลตัดทิ้งหมด


                       สามไมงาย

                       ๑.  คําสั่งสอนของพระพุทธเจาเหมาะกับสถานการณ  ปจจุบันสภาพสังคมและประเพณีนิยมตาง

               ออกไป  การแปลสิ่งที่มีอยูในสมัยโบราณใหเหมาะกับสภาพปจจุบันเปนเรื่องไมงาย

                       ๒.  มนุษยมีปญญาตางกัน  จะแปลคําสั่งสอนของพระพุทธเจาซึ่งมีความหมายลึกซึ้งใหปุถุชน

               เขาใจเปนเรื่องไมงาย
                       ๓.  ผูแปลในยุคปจจุบันมีชีวิตอยูหางจากพุทธกาลเปนพันป  และเปนเพียงคนธรรมดามิไดรูแจงใน

               พระธรรม  การจะถายทอดหลักธรรมอันลึกซึ้งเปนเรื่องไมงาย  (释僧祐,1995: 288-290)

                       มาตรฐานการแปลของจีนกาวหนาขึ้นในยุคของพระกุมารชีพ 鸠摩罗什  (ค.ศ.๓๔๔-๔๑๓)  ซึ่งเปน

               พระธรรมทูตจากอินเดียทานแรกที่แตกฉานทั้งภาษาสันสกฤตและภาษาจีน  ทานไดเห็นถึงปญหาการแปล

               คัมภีรภาษาสันสกฤตเปนภาษาจีน  ทานจึงเสนอใหผสมผสานการแปลโดยอรรถและการแปลโดย
               พยัญชนะเขาดวยกัน  นอกจากนั้นยังบัญญัติศัพทสําหรับแปลคําในพุทธศาสนาขึ้นใหมจํานวนมาก  ทาน

               สนับสนุนใหนักแปลรับผิดชอบงานของตนโดยระบุชื่อผูแปลลงไป  พระกุมารชีพมีผลงานแปลจํานวนมาก

               คัมภีรที่ทานแปลไดพัฒนากลายเปนหลักธรรมสําคัญของนิกายตางๆ  ในยุคตอมา  งานแปลของทานไดรับ
               การยกยองวาใชภาษาสละสลวย  ถายทอดอรรถรสของตนฉบับไดเปนอยางดี  ทานจึงไดรับการยกยองเปน

               สามนักแปลพุทธคัมภีรผูยิ่งใหญ  รวมกับพระปรมรรถและพระเสวียนจั้งในกาลตอมา


                       สมัยยุคราชวงศเหนือ-ใต  การแปลพุทธคัมภีรรุงเรือง นักแปลคนสําคัญไดแก พระปรมรรถ 真谛
               (ค.ศ.๔๙๙-๕๖๙)   ภิกษุจากแควนอุชเชนี  ประเทศอินเดีย ซึ่งไดนําเสนอหลักธรรมของฝายโยคาจารสู

               ประเทศจีนอยางเปนระบบ  พระเจาเหลียงอูตี้ จักรพรรดิในสมัยนั้นเลื่อมใสในศาสนาพุทธ  คณะราชทูตจีน
               ซึ่งเดินทางไปยังอาณาจักรฟูนันหรือกัมพูชาไดพบพระปรมรรถผูจาริกมาถึงฟูนัน  จึงไดเชิญพระปรมรรถ

               มายังประเทศจีน  พระเจาเหลียงอูตี้เตรียมจัดสนามแปลใหพระปรมรรถ  แตเกิดกบฏขึ้นในประเทศจีน

               พระเจาเหลียงอูตี้สวรรคต  ทําใหพระปรมรรถขาดผูอุปถัมภ  ชีวิตการเผยแผพระธรรมของทานในประเทศ

               จีนในเวลาตอมาจึงไมราบรื่น  งานแปลคัมภีรของทานจึงมีคุณภาพไมแนนอน  งานชวงบั้นปลายชีวิตมี

               คุณภาพดีกวาชวงแรก  ปจจัยหลักขึ้นอยูกับลูกศิษยที่ชวยแปลวามีความรูทางอักษรศาสตรจีนดีหรือไม
                       การแปลพุทธคัมภีรเจริญสูงสุดในสมัยราชวงศสุยและราชวงศถัง  แมราชวงศสุยจะปกครอง

               ประเทศจีนเปนเวลาเพียงสามสิบกวาป  แตการแปลพุทธคัมภีรก็เจริญกาวหนา  ที่นาสนใจคือทฤษฎีความ

               พรอม  ๘  ประการของพระเยี่ยนฉง 彦琮  (ค.ศ.๕๕๗-๖๑๐) พระเยี่ยนฉงเปนภิกษุชาวจีนผูแตกฉานภาษา

               สันสกฤต  พระเยี่ยนฉงเห็นวา  เมื่อแรกเริ่มแปลคัมภีร  ก็เหมือนนกแกวหัดพูด  กวาจะไดสักถอยสักคําเปน







                                                            ๗
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18