Page 14 -
P. 14

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
               กนกพร  นุ่มทอง

               ตําราการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน




               เรื่องยาก  พอนานปเขายอมแตกฉานในพุทธธรรมและการแปลภาษา  แตทางที่ดีที่สุดคือ  ผูศึกษาพระ

               ธรรมควรจะรูภาษาสันสกฤต  จะไดอานโดยตรงได  ไมตองพึ่งพาการแปล  ทานเห็นวาภาษาจีนและภาษา

               สันสกฤตแตกตางกันมาก  วัฒนธรรมของจีนและอินเดียก็ตางกัน  จะแปลใหถูกตองทั้งหมดเปนเรื่องยาก

               มาตรฐานการแปลในทัศนะของทานคือภาษาใกลเคียงตนฉบับมากที่สุด  ฉะนั้นผูจะแปลคัมภีรตองเปนผูมี
               คุณสมบัติพรอม  ๘  ประการ กลาวคือ ๑) ศรัทธาในพระธรรม  ตั้งปณิธานชวยมนุษย  ไมเกรงเปนการ

               เสียเวลา  ๒) ตั้งอยูในศีลธรรม  เชื่อถือไววางใจได  ไมกอใหเกิดความกังขาแกผูอื่น  ๓) แตกฉานใน

               พระไตรปฎก  รูทั้งมหายานและหินยาน  ปราศจากขอสงสัย  ๔) รูประวัติศาสตรนิพนธจีน  เชี่ยวชาญ

               วรรณคดี  ไมหยาบเขลาจนเกินไป  ๕) ใจคอกวางขวาง  ออนนอมถอมตน  ไมยึดมั่นในความเห็นของตน
               เกินไป  ๖) มีใจรักในงาน  ชืดชาตอชื่อเสียงลาภยศ  มิไดหวังไดหนา  ๗) แตกฉานภาษาสันสกฤต  รูวิธีแปล

               ที่ถูกตอง  ไมทําใหเนื้อความเดิมสูญไป  ๘) พอรูวิชานิรุกติศาสตรจีน  เขาใจเรื่องตัวอักษร  ไมทําใหฉบับ

               แปลขาดความถูกตอง  (慧皎等, 1991:  288-290)

                         ความพรอม  ๘  ประการของพระเยี่ยนฉง  ขอ  ๑  ๒  ๕  ๖  เปนเรื่องจริยธรรมและจรรยาบรรณ
               ขอ  ๔  ๗  ๘  เปนเรื่องความพรอมทางภาษาและวรรณคดี  ขอ  ๓  เปนเรื่องความรูเฉพาะทางในดานที่

               แปล  ซึ่งในที่นี้ไดแกพุทธธรรม  ความพรอม  ๘  ประการนี้จะมองเปนเกณฑการคัดคนเขาสูสนามแปลก็วา

               ได  พรอมกันนั้นก็สะทอนวา  ในทัศนะของทาน  มาตรฐานการแปลคือเนนความถูกตองตรงตามตนฉบับ

               เรียกไดวาพระเยี่ยนฉงไดเสนอความคิดที่เปนระบบในวงการแปลของประเทศจีน

                       การแปลพุทธคัมภีรในประเทศจีนรุงเรืองถึงขีดสุดในสมัยราชวงศถัง  มีการแปลพระคัมภีรมากถึง
               ๓๗๒  ปกรณ  นักแปลที่มีชื่อเสียงที่สุดไดแกพระเสวียนจั้ง 玄奘  (ค.ศ.๖๐๐-๖๔๔) หรือพระถังซําจั๋งซึ่ง

               ไดรับการยอมรับวาเปนผูแปลพุทธคัมภีรเปนภาษาจีนไดดีที่สุดในประวัติศาสตร  พระเสวียนจั้งเดินทางไป

               ศึกษาภาษาสันสกฤตและวิชาอื่นที่มหาวิทยาลัยนาลันทา  แลวยังจาริกไปตามแควนตางๆ  ในอินเดียเพื่อ

               ศึกษาหาความรูเพิ่มเติม  ทานไดนําพุทธคัมภีรกลับมายังประเทศจีนถึง  ๖๕๗  ปกรณ  หลังจากกลับถึง
               ประเทศจีนแลว  ก็ไดใชเวลา  ๑๙  ปแปลคัมภีรเปนภาษาจีน  รวมแลว  ๗๕  ปกรณ  ๑๓๓๕  ผูก

               นอกจากนั้นยังแปลคัมภีรเหลาจื่อของจีนและคัมภีรอื่นๆ  เปนภาษาสันสกฤต  เปนชาวจีนคนแรกที่แปล

               หนังสือภาษาจีนเปนภาษาตางประเทศ  พระเสวียนจั้งมีคุณูปการในดานการแปลเปนอยางมาก  ที่สําคัญ

               คือทานไมยึดติดวาจะตองใชการแปลโดยพยัญชนะหรือการแปลโดยอรรถ  ปรับเปลี่ยนวิธีการตามความ
               เหมาะสม ในดานมาตรฐานการแปล  ทานเนนทั้งความถูกตองและความสละสลวย  ในการปฏิบัติ  ทานได

               ใชเทคนิคตางๆ  เปนตนวาการเปลี่ยนประเภทคํา  การเพิ่มความ  การทอนความ  การเปลี่ยนลําดับคําใน


               ประโยค  ฯลฯ  เปนเทคนิคที่คนยุคกอนคิดไมถึง  โจวตุนอี้ 周敦义คนสมัยซงใต(คนละคนกับโจวตุนอี๋ 周敦
               颐)ไดสรุปไวในคํานําหนังสือของพระฝาอวิ๋น 法云  วา พระเสวียนจั้งมีหลัก “หาไมแปล” 五不翻  กลาวคือ









                                                            ๘
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19