Page 10 -
P. 10

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
               กนกพร  นุ่มทอง

               ตําราการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน




               แตมีรูปแบบตางกันก็ใชมาตรฐานตางกัน  เชน  การแปลกวีนิพนธยอมมีมาตรฐานตางกับการแปลนวนิยาย

               ซึ่งเขียนเปนรอยแกว

                       ๓.  นักทฤษฎีผูกําหนดมาตรฐานการแปลมองจากมุมมองตางกันตามประสบการณหรือทัศนะของ

               ตนเอง  เปนตนวา  นักภาษาศาสตรยอมมองจากมุมมองของภาษาเปนสําคัญ  มุมมองที่ใชกําหนด
               มาตรฐานการแปลนั้น  อาจเปนมุมมองทางภาษา  มุมมองทางวรรณคดี  มุมมองทางสังคม  มุมมองทาง

               วัฒนธรรม  มุมมองจากการรับรูของผูอาน  มุมมองในเรื่องผลประโยชน  ฯลฯ


                       ดังที่กลาวมาแลว  จะยึดมาตรฐานการแปลใดเปนเกณฑแนชัด  ใชไดกับงานทุกชาติทุกภาษา  ทุก
               ยุคสมัย  ทุกมุมมอง  ทุกรูปแบบเนื้อหา  นั้นเปนไปไดยาก  อยางไรก็ดี  ในฐานะผูเรียนชาวไทยที่ศึกษา

               ภาษาจีน  ก็ควรศึกษาพัฒนาการของมาตรฐานการแปลในประเทศจีนไวพอสังเขป  ควบคูกับการศึกษา

               มาตรฐานการแปลตะวันตกจากหนังสือทฤษฎีและหลักการแปลสากลซึ่งหาไดงายในปจจุบัน

                       นับแตสมัยโบราณ จีนก็มีการถกเรื่องมาตรฐานการแปลมาโดยตลอด  ความเห็นแบงออกเปนสอง
               ขาง    คือ  ทัศนะหนึ่งสนับสนุนการแปลโดยพยัญชนะหรือการแปลโดยรักษาการแปลคําตอคํา  รักษา

               โครงสรางและความหมายภาษาตนฉบับและฉบับแปลอยางเครงครัด  อีกทัศนะหนึ่งสนับสนุนการแปลโดย

               อรรถหรือการแปลโดยมุงเอาใจความเปนสําคัญ    ไมรักษาโครงสรางทางไวยากรณ    ครั้นไดรับอิทธิพล

               ตะวันตก  ก็เกิดปญหาขึ้นใหมคือ  ระหวางทฤษฎีการแปลโบราณกับทฤษฎีการแปลสากลนั้น  ทฤษฎีใดจะ
               เหมาะสมกับการนํามาใชมากกวากัน    หลัวซินจางนักทฤษฎีการแปลผูมีชื่อเสียงของประเทศจีนไดสรุป


               พัฒนาการของมาตรฐานการแปลจีนโดยภาพรวมวา  อั้นเปน-ฉิวซิ่น-เสินซื่อ-ฮวาจิ้ง  案本—求信—神似—
               化境(罗新璋,1984:19)กลาวคือ  มาตรฐานการแปลของจีนในสมัยโบราณนั้น   การแปลที่สําคัญคือ

               การแปลคัมภีรในพุทธศาสนา  จําเปนตองยึดหลักสุจริต  แปลใหตรงกับตนฉบับมากที่สุด  เรียกวา  อั้นเปน

               案本  ตอมาคือ  มาตรฐานที่ไดรับอิทธิพลจากความคิดตะวันตก  ฉบับแปลตองเชื่อถือไดวาตรงตามตนฉบับ
               หรือ  ฉิวซิ่น 求信   ตอมา  เสินซื่อ 神似  และ  ฮวาจิ้ง 化境  เปนมาตรฐานการแปลงานวรรณกรรมในปจจุบัน

               เหมือนทางจิตวิญญาณ หรือเสินซื่อ 神似หมายถึงฉบับแปลนอกจากตองแปลความหมายของตนฉบับแลว

               ยังตองถายทอดจิตวิญญาณของตนฉบับออกมาใหได  และมาตรฐานการแปลขั้นสูงสุดอันเปนมาตรฐานใน

               อุดมคตินั้นคือ แปลงสภาวะ หรือ ฮวาจิ้ง 化境    คือไมใหผูอานรูสึกวากําลังอานฉบับแปลในขณะเดียวกันก็
               รักษารสของตนฉบับไวไดอยางครบถวน  อยางไรก็ดี  การสรุปพัฒนาการมาตรฐานการแปลจีนดังขางตนนี้

               เปนการสรุปโดยรวมจากกระแสหลักในวงการแปล    มิไดหมายความวามาตรฐานการแปลจีนจะพัฒนาใน

               ลักษณะเปนทิศทางเดียวแตอยางใด

                       เราสามารถศึกษาพัฒนาการของมาตรฐานการแปลของจีนควบคูกับประวัติการแปลของจีน
               โดยสังเขป  เฉพาะที่มีอิทธิพลสูงไดดังนี้








                                                            ๔
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15