Page 11 -
P. 11

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
                                                                                                            กนกพร  นุ่มทอง

                                                                              ตําราการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน




                       มาตรฐานการแปลในยุคการแปลพุทธคัมภีร

                       การแปลของจีนมีประวัติความเปนมายาวนาน  สามารถยอนไปไดถึงสมัยราชวงศซางและราชวงศ

               โจว  ขุนนางที่ทําหนาที่ตอนรับราชทูตจากตางแดน  และเปนลามเรียกวา  เซี่ยงซีว 象胥   หรือเสอเหริน 舌人

               หากพิจารณาตามรูปศัพท  เสอเหริน  เสอหมายถึงลิ้น  เหรินคือคน  เสอเหรินจึงหมายถึงลาม  การแปล
               ขอเขียนอยางเปนทางการเริ่มขึ้นเมื่อป  ค.ศ.๑๔๘  คือปที่สองแหงรัชกาลพระเจาฮั่นหวนตี้แหงราชวงศฮั่น

               ตะวันออก  เชื่อกันวาพระอันซื่อเกา 安世高  จากแควนอันซี 安息  หรือเปอรเซียในปจจุบันเปนคนแรกที่เริ่ม

               แปลพุทธคัมภีรเปนภาษาจีน  ลักษณะงานแปลของทานเปนการแปลตรงตามพยัญชนะ  เพื่อรักษา

               ความหมายเดิมไว  และมักใชศัพทในลัทธิเตามาอธิบายหลักธรรมในศาสนาพุทธเพื่อใหเขาใจงาย
                       ปลายสมัยพระเจาฮั่นหวนตี้  พระโลกเสนหรือจือโหลวเจียเชิ่น 支娄迦谶  ภิกษุจากแควนกุษาณะ

               月氏国   ไดเขามาเผยแผพุทธศาสนาในประเทศจีนและแปลพุทธคัมภีรเปนภาษาจีน  นับเปนครั้งแรกที่ไดมี

               การแปลคัมภีรมหายานเปนภาษาจีน  งานแปลของทานอานยาก  เพราะรักษาขอความในตนฉบับมาก

               เกินไป  และการใชสํานวนและไวยากรณแตกตางจากภาษาจีน
                       นักแปลทานแรกที่ถกเกี่ยวกับมาตรฐานการแปลของจีนไดแก  จือเชียน 支谦  ศิษยของจือเลี่ยง

               支亮  ซึ่งเปนศิษยของพระโลกเสนอีกที  สามทานนี้ไดรับการขนานนามรวมกันวา  ซันจือ 三支  หรือจือทั้ง

               สาม  ในฐานะนักแปลที่มีชื่อเสียงในยุคเริ่มแรกของการแปลพุทธคัมภีรเปนภาษาจีน  จือเชียนมิใชพระภิกษุ

               หากแตเปนอุบาสกผูเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา  เปนชาวแควนกุษาณะที่เกิดในประเทศจีน  รูหกภาษา  รับ

               ราชการอยูในราชสํานักอูในสมัยสามกก  จือเชียนไดเขารวมการแปลคัมภีรพระธรรมบท 法句经  โดยเปนผู
               จดคําแปลของภิกษุอินเดียลงเปนอักษรจีน  จือเชียนไดกลาวในคํานําการแปลคัมภีรพระธรรมบทวา  เมื่อ

               แรกนั้นทานไมเห็นดวยกับการแปลโดยพยัญชนะซึ่งยึดตนฉบับมากเกินไปจนสํานวนไมสละสลวย  แต

               ตอมาพระวิฆณา 维祗难  ภิกษุอินเดียซึ่งเปนประธานในการแปลไดใหแนวคิดแกทาน  ทานจึงหันมายึด

                                          1
               ตนฉบับเปนสําคัญ “是以自竭 ,受译人口,因循本旨,不加文饰,译所不解,则阙不传。”  กลาวคือ
               การทํางานของทาน  จดตามคําบอก  ยึดตามเจตนาเดิม  ไมเสริมใหงาม  หากมีที่ใดไมกระจาง  จักวางไว

               ไมถายทอด  (释僧祐, 1995: 273)
                       ทัศนะดังกลาวเนนหนักไปในทางการแปลใหตรงตามตนฉบับมากกวาการแปลใหสละสลวย

               เห็นชัดวาในสมัยนั้นมีการขบคิดปญหามาตรฐานการแปลแลว  มีผูตั้งขอสังเกตวาจือเชียนกลาวไมตรงกับ

               การปฏิบัติจริง  เพราะคัมภีรพระธรรมบทฉบับแปลภาษาจีนที่ผานการแกไขโดยจือเชียนใชถอยคํา

               สละสลวยมากกวาตรงตามตนฉบับ  เปนไปไดวาใจจริงแลวจือเชียนสนับสนุนการแปลใหสละสลวย  แต
               จําตองยอมรับการแปลใหตรงตามตนฉบับไปตามกระแสหลักในสมัยนั้น  อยางไรก็ดีความขัดแยงระหวาง




               1   即“偈”。






                                                            ๕
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16