Page 16 -
P. 16

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
               กนกพร  นุ่มทอง

               ตําราการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน




               กฎหมายระหวางประเทศที่ฝรั่งเศส  พรอมกับรับหนาที่ลามประจําตัวเอกอัครราชทูตจีนประจําฝรั่งเศส  จึง

               มีประสบการณดานการแปลและการลามสูง  เมื่อกลับมารับราชการในประเทศจีน  ก็ไดปฏิบัติงานดานการ

               ตางประเทศมาโดยตลอด  หมาเจี้ยนจงเปนผูเสนอใหจัดตั้งสถาบันการแปลขึ้น  สงเสริมใหชาวจีนเรียนรู

               ภาษาตางประเทศ  และยังเปนผูแตง หมาซื่อเหวินทง 马氏文通  ซึ่งเปนตําราไวยากรณเลมแรกของจีน  มี
               คุณูปการตอประเทศจีนมากในหลายดาน

                       หมาเจี้ยนจงเสนอทฤษฎีการแปลที่ดี 善译  โดยเห็นวาผูแปลตองมีความรูทางภาษาดี  เขาใจความ

               เหมือนและความตางของภาษาตนฉบับและภาษาฉบับแปล  ตองกระจางในเนื้อหาตนฉบับ  และรูถึงลีลา

               ของตนฉบับ  เวลาแปลตองถายทอดออกมาใหครบ  ฉบับแปลกับตนฉบับตองเทียบเคียงกันได  ผูอานอาน
               ฉบับแปลแลวตองเกิดความรูสึกอยางเดียวกับอานตนฉบับ (陈福康, 2000: 87-90)  จะเห็นไดวาเขาตั้ง


               มาตรฐานการแปลไวสูงมาก  ทฤษฎีของหมาเจี้ยนจงใกลเคียงกับทฤษฎีของเฟโดรอฟ 费道罗夫  А.В.

               Фёдоров นักทฤษฎีการแปลแนวภาษาศาสตรชาวสหภาพโซเวียตผูเขียนตําราสังเขปทฤษฎีการแปล 翻译
               理论概要  Введение в теорию перевода ออกมาในป ค.ศ.๑๙๕๓
                       นักทฤษฎีการแปลสมัยราชวงศชิงที่มีชื่อเสียงที่สุดไดแก เหยียนฟู  ผูเสนอมาตรฐาน “ถูกตอง-สื่อ

               ความ-งามตามแบบแผน” 信、达、雅  ซึ่งยังมีอิทธิพลตอการแปลของประเทศจีนมาจนถึงยุคปจจุบัน  จึงมี

               ความจําเปนตองศึกษาทฤษฎีของเหยียนฟูโดยละเอียด

                       เหยียนฟูเปนนักแปลผูมีชื่อเสียงและนักคิดหัวกาวหนาแหงยุค  เขาไดรับการศึกษาภาษาอังกฤษ

               และความรูทางวิทยาศาสตรสมัยใหมขณะศึกษาที่วิทยาลัยการเรือฝูโจว  ตอมาไปศึกษาตอยังประเทศ
               อังกฤษ เมื่อกลับถึงประเทศจีนก็เปนอาจารยในวิทยาลัยเดิมกอน  ตอมากาวหนาในทางวิชาการ  เคยรับ

               ตําแหนงอธิการบดีของหลายสถาบัน  เหยียนฟูแปลหนังสือปรัชญา  เศรษฐศาสตรและการเมืองการ

               ปกครองตะวันตกเปนภาษาจีนจํานวนมาก  เปนผูมีคุณูปการอยางสูงในการเผยแพรวิทยาการตะวันตกเขา

               สูประเทศจีน  เหยียนฟูสรุปประสบการณจากการปฏิบัติและคนควาประสบการณจากนักแปลพุทธคัมภีรใน
               อดีต  สรุปหลักทฤษฎีมาตรฐานการแปลของตนดวยคําสามคําคือ  ถูกตอง-สื่อความ-งามตามแบบแผน

               信、达、雅  ไวในคํานําการแปลหนังสือเรื่อง  เทียนเหยี่ยนลุน 天演论  ซึ่งแปลจาก Evolutions and Ethics

               ของ  T.H. Huxley ดังนี้


                              “译事三难:信、达、雅。求其信,已大难矣!顾信矣,不达,虽译,犹不译也,则达
                       尚焉。海通以来,象寄之才,随地多有;而任取一书,责其能与于斯二者,则已寡矣!其故在
                       浅尝一也;偏至二也,辨之者少,三也。”(赫胥黎、严复, 1933: 译例言 1)

                       กลาวคือ การแปลยากอยูสามประการ   คือ  ตองถูกตอง สื่อความ  งามตามแบบแผน  การแปลให

               ตรงตามตนฉบับนั้นเดิมก็เปนเรื่องยากอยูแลว  แตหากมุงเนนใหตรงตามตนฉบับโดยละเลยการทําให









                                                            ๑๐
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21