Page 20 -
P. 20
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
กนกพร นุ่มทอง
ตําราการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน
ครั้งแรก เหมาตุน 茅盾 (ค.ศ.๑๘๙๖-๑๙๘๑) เปนผูบรรยายสรุปในหัวขอ “ตอสูเพื่อพัฒนาวงการแปล
วรรณกรรมและยกระดับคุณภาพ” เหมาเจอตง 毛泽东 (ค.ศ.๑๘๙๓-๑๙๗๖) สนับสนุนทัศนะของหลูซวิ่น
และเห็นวาการแปลงานเขียนทฤษฎีสามารถใชวิธีแปลตรงได แสดงใหเห็นวา ในทัศนะของเหมาเจอตง
การแปลตรงเปนสิ่งที่พึงกระทํา
ฟูเหลย 傅雷 (ค.ศ.๑๙๐๘-๑๙๖๖) เสนอมาตรฐานการแปลวาตองทําใหเหมือนทางจิตวิญญาณ
神似 ฟูเหลยเปนนักเรียนเกาฝรั่งเศส ศึกษาดานศิลปะ หลังจากกลับประเทศจีนก็ไดแปลวรรณกรรม
ฝรั่งเศสเปนภาษาจีนจํานวนมาก เปนนักแปลที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของจีน ฟูเหลยเขียนบทความเกี่ยวกับ
การแปลไวสวนหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีจดหมายสนทนาเรื่องการแปลกับนักวิชาการดานการแปลของจีนเชน
หลินอี่เลี่ยง 林以亮 หลัวซินจาง 罗新璋 บทความและจดหมายเหลานี้กลายเปนทัศนะดานการแปลที่เปนที่
รูจักอยางกวางขวาง ฟูเหลยมองวาการแปลเปนอาชีพศักดิ์สิทธิ์ ผูแปลตองเขาใจผูเขียนและตนฉบับอยาง
ลึกซึ้ง ตองสามารถถายทอดตนฉบับสูฉบับแปลใหผูอานอานแลวเขาถึงตนฉบับได เขาเปรียบเทียบการ
เลือกตนฉบับวาเหมือนดังการเลือกคบเพื่อน คนเรามีนิสัยตางกันจะใหเขาใจกันไดลึกซึ้งตองใชเวลานาน
ตอใหถูกชะตากันตั้งแตแรกพบก็ยังไมอาจทําความเขาใจลึกซึ้งไดหมดในเพียงวันเดียว ฉะนั้นกอนลงมือ
แปลตองอานตนฉบับอยางนอยสี่หารอบ นอกจากนั้นเขายังเนนย้ําวา ผูแปลตองมีความรูกวางขวางและมี
ประสบการณชีวิต เพราะงานวรรณกรรมเกี่ยวของกับสังคมในหลายแงมุม ในดานของมาตรฐานการแปล
ฟูเหลยมองวาระบบความคิดของจีนและตะวันตกตางกันมาก การแปลจะแปลตรงทีละถอยทีละคํานั้นมิได
หากแตตองรักษาจิตวิญญาณและสุนทรียะของตนฉบับไว เขาเปรียบเทียบการแปลกับการวาดภาพ วาสิ่ง
สําคัญนั้นมิใชความเหมือนทางกายภาพ หากแตเปนความเหมือนทางจิตวิญญาณ อันที่จริงแลว ฟูเหลย
ไมใชบุคคลแรกที่เอยถึงเรื่องการถายทอดงานแปลใหเหมือนทางจิตวิญญาณ เหมาตุนเคยเอยถึงเรื่องนี้มา
กอนหนานั้นแลวตั้งแตป ค.ศ.๑๙๒๑ การเปรียบเทียบงานแปลกับการวาดภาพก็มีเฉินซีอิ๋ง 陈西滢เคยพูด
ถึงมาแลวตั้งแตป ค.ศ.๑๙๒๙ แตถอยคําของฟูเหลยมีอิทธิพลสูงเพราะเขาเคยเรียนทางดานทฤษฎีศิลปะ
ที่กรุงปารีสและงานแปลของเขามีชื่อเสียงโดงดังในประเทศจีน (罗新璋,1983: 385-393)
เฉียนจงซู 钱钟书(ค.ศ.๑๙๑๐-๑๙๙๘) นักวิชาการชื่อดังของประเทศจีนไดเสนอมาตรฐานการแปล
ในอุดมคติวาดวยการแปลงสภาวะ 化境 ไววา “การเปลี่ยนผลงานวรรณกรรมจากภาษาชาติหนึ่งไปเปน
ภาษาอีกชาติหนึ่ง ทั้งไมทําใหเหลือรองรอยแข็งฝดเพราะความแตกตางทางความเคยชินในการใชภาษา
และยังสามารถรักษารสของตนฉบับไดอยางครบถวน เรียกไดวา แปลงสภาวะ” มาตรฐานการแปลของ
เฉียนจงซูสูงมาก เปรียบเสมือนการกลับชาติมาเกิด คือเปลี่ยนรางกาย แตยังคงรักษาจิตวิญญาณไว
ฉบับแปลตองซื่อสัตยกับตนฉบับจนถึงขั้นที่ดูไมออกวาเปนฉบับแปล เพราะเวลาอานผลงานวรรณกรรม
ตนฉบับนั้นไมมีทางอานแลวรูสึกวาเปนงานที่แปลมา (罗新璋,1983: 416-422)
๑๔