Page 32 -
P. 32

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                        15







                                  (6) การจัดหา (Procurement)
                                    ผู้จัดจ าหน่ายควรมีส่วนร่วมในการวางแผนกลยุทธ์ของกิจการเพื่อสนับสนุนกระ
                       บวนการและการไหลของการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์  โดยเฉพาะผู้จัดจ าหน่ายที่มีศักยภาพ
                       พอที่จะรักษาความสัมพันธ์ร่วมกันไประยะยาว  ซึ่งการเพิ่มส่วนร่วมของผู้จัดจ าหน่ายในกระบวนการ

                       ผลิตของกิจการนี้  นับเป็นสถานการณ์ที่ได้ประโยชน์ร่วมกัน  เนื่องจากผู้จัดจ าหน่ายจะพยายามปรับ
                       เทคโนโลยีและการจัดส่งวัตถุดิบให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า (กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ
                       และคณะ, 2546, หน้า 319)
                                  การจัดการด้านการวางแผนในการจัดหาสินค้าหรือวัตถุดิบ  เพื่อให้สามารถ

                       ตอบสนองความต้องการในการผลิต และการจัดการอุปสงค์ขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย
                       การจัดการดังกล่าวต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างองค์กรที่เป็นคู่ค้า  ในการประสานงานและ
                       ติดต่อสื่อสารที่ดี  ระบบการติดต่อ  และส่งถ่ายข้อมูลจึงเป็นส่วนส าคัญในการพัฒนาการท างานใน
                       ส่วนนี้  เช่น  ระบบ EDI เป็นต้น  นอกจากนี้เรื่องการเจรจาต่อรอง และการท างานร่วมกันระหว่างคู่

                       ค้า ก็เป็นประเด็นที่ควรให้ความส าคัญ เพื่อให้การท างานเป็นไปอย่างได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย (Win-
                       Win relationship) (Lambert, 2004)
                                  แผนกลยุทธ์ได้พัฒนาขึ้นมาจากผู้ขายวัตถุดิบเพื่อที่จะสนับสนุนกระบวนการจัดการ

                       การไหลในการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ผู้ขายวัตถุดิบถูกจัดกลุ่มในหลาย ๆ  มิติ  เช่น
                       การสนับสนุนให้ความช่วยเหลือและความส าคัญที่มีต่อองค์กร
                                  กลุ่มความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ในระยะยาวได้พัฒนามาจากกลุ่มเล็กๆของผู้ขายวัตถุดิบ

                       หลักผลลัพธ์ที่ต้องการคือความสัมพันธ์ในเชิงที่ทั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย (win-win
                       relationship) นี่คือการเปลี่ยนแปลงจากระบบดั้งเดิมที่ใช้วิธีประมูลราคาและซื้อไปเป็นการเข้าไป

                       เกี่ยวข้องกับผู้ขายวัตถุดิบหลักตั้งแต่ต้นในรอบการออกแบบ  ซึ่งสามารถท าให้ลดรอบระยะเวลาการ
                       พัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นอย่างมาก การที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับผู้ขายวัตถุดิบตั้งแต่ต้นช่วยลดเวลาโดยต้อง
                       ได้รับความร่วมมือจากฝ่ายวิศวกรรม  ฝ่ายจัดซื้อ  และผู้ขายวัตถุดิบก่อนที่จะออกแบบขั้นสุดท้าย

                                  (7) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development)
                                    การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการพาณิชย์  (Product Development)  คือ  การที่
                       ลูกค้าและผู้ส่งมอบมีส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (โกศล ดีศีลธรรม, 2548, หน้า 14)
                                    ถ้าผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นสิ่งจ าเป็นที่สุดในหน่วยธุรกิจ  ดังนั้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ก็

                       เป็นสิ่งที่จ าเป็นที่สุดของผลิตภัณฑ์ใหม่ ลูกค้าและผู้ขายวัตถุดิบต้องถูกรวมเข้าด้วยกันใน
                       กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อที่จะลดระยะเวลาในการท าตลาดในขณะที่วงจรผลิตภัณฑ์สั้นลง
                       ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมต้องถูกพัฒนาและปล่อยสู่ตลาดในระยะเวลาอันสั้นเพื่อที่จะสามารถแข่งขันได้
                                    ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์  กิจการควรให้ทั้งลูกค้าและผู้จัดจ าหน่ายเข้ามามีส่วนร่วม

                       ด้วยเพื่อสร้างความสะดวกและย่นระยะเวลาในการท าการตลาด (Lambert & Cooper, 2000)
                                  (8) กระบวนการส่งสินค้าคืน (Returns)
                                    การรับคืนสินค้า  (Reverse)  คือ  กระบวนการสนับสนุนให้องค์กรสามารถรักษา
                       ความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน  (โกศล ดีศีลธรรม, 2548, หน้า 15)
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37