Page 35 -
P. 35

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                        18







                       กล่าวในอีกลักษณะหนึ่งได้ว่า  ส่วนเหลื่อมการตลาดข้าวโพดเดือนพฤศจิกายนปี  2530
                       เท่ากับร้อยละ 25
                                     ส าหรับต้นทุนการตลาดและส่วนเหลื่อมการตลาดนี้  หากน ามาพิจารณากันอย่าง
                       ลึกซึ้งภายใต้สถานการณ์ปกติแล้วจะเห็นได้ว่า  ต้นทุนการตลาดก็คือส่วนเหลื่อมการตลาดนั่นเอง

                       ทั้งนี้เพราะโดยปกติราคาที่ผู้บริโภคจ่ายจะเท่ากับราคาที่เกษตรกรได้รับรวมกับค่าใช้จ่ายหรือต้นทุน
                       การตลาดที่เกิดขึ้น  ดังนั้นความแตกต่างระหว่างราคาที่ผู้บริโภคจ่ายกับราคาที่ผู้ผลิตได้รับหรือส่วน
                       เหลื่อมการตลาดจึงควรเท่ากับต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายการตลาดพอดี  แต่อย่างไรก็ตาม  ความหมายของ
                       ต้นทุนการตลาดในบางแนวความคิดไม่รวมถึงก าไรของผู้ประกอบการด้วย  ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วต้นทุน

                       การตลาดกับส่วนเหลื่อมการตลาดจะต่างกันเท่ากับก าไรที่ผู้ประกอบการหรือผู้ท าหน้าที่ตลาดได้รับ
                       นอกจากนี้  ในระยะเวลาสั้นหรือในบางขณะราคาที่ผู้บริโภคจ่ายจะไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กล่าว
                       มาแล้วเสมอไป  ผู้ท าหน้าที่ตลาดอาจได้ราคาสินค้าหรือตั้งราคาสินค้าให้สูงกว่าหรือต่ ากว่าราคาที่
                       เกษตรกรได้รับรวมกับต้นทุนการตลาด  (ซึ่งรวมถึงก าไรของผู้ประกอบการตามปกติแล้ว)  ในกรณี

                       เช่นนี้หมายความว่า  ผู้ประกอบการหรือผู้ท าหน้าที่การตลาดได้รับก าไรส่วนเกินหรือขาดทุนในการ
                       ด าเนินธุรกิจ  ซึ่งเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ท าให้ส่วนเหลื่อมการตลาดไม่เท่ากับต้นทุนการตลาด
                                     3)  ส่วนแบ่งของผู้ผลิต  หมายถึง  ส่วนที่ตกแก่ผู้ผลิตหรือราคาที่ผู้ผลิตได้รับ  เมื่อ

                       คิดเทียบเป็นร้อยละจากราคาสินค้าที่ผู้บริโภคจ่าย  เช่น  ส้มโอนครชัยศรี  ชาวสวนขายได้ในราคาผล
                       ละ 12 บาท  ผู้บริโภคในกรุงเทพฯ  ซื้อได้ในราคาผลละ 20  บาท  ส่วนแบ่งของผู้ผลิตส าหรับส้มโอ
                       นครชัยศรีจึงเท่ากับร้อยละ  60  เช่นเดียวกัน  การศึกษาและวิเคราะห์ส่วนแบ่งของผู้ผลิต  อาจ
                       พิจารณาศึกษาเฉพาะในแต่ละช่วงของตลาดหรือตัวสินค้าได้
                                     4) ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนแบ่งของผู้ผลิตและส่วนเหลื่อมการตลาด  ในเมื่อ

                       ราคาสินค้าที่ผู้บริโภคซื้อเท่ากับราคาที่ผู้ผลิตได้รับบวกกับส่วนเหลื่อมการตลาด  ส่วนเหลื่อมการตลาด
                       และส่วนแบ่งของผู้ผลิตจึงมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด  หากส่วนแบ่งของผู้ผลิตมาก
                       ส่วนเหลื่อมการตลาดจะน้อย  และหากส่วนเหลื่อมการตลาดมาก  ส่วนแบ่งของผู้ผลิตก็จะน้อย

                       ดังนั้น  เมื่อกล่าวถึงส่วนเหลื่อมการตลาดหรือส่วนแบ่งของผู้ผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง  จะสามารถเข้าใจ
                       ในอีกส่วนหนึ่งได้ว่าเป็นอย่างไร  ทั้งนี้ ไพทูรย์ รอดวินิจ (2537) พบว่าส่วนเหลื่อมการตลาดสินค้า
                       เกษตรชนิดต่าง ๆ (ธัญพืชและพืชไร่)  จะอยู่ระหว่าง  15 – 30% การที่ส่วนเหลื่อมการตลาดสินค้า
                       เกษตรแต่ละชนิดจะมากน้อยต่างกันอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับ

                                     ก) บริการหรือหน้าที่การตลาดที่ท ากับตัวสินค้านั้น  สินค้าใดที่การตลาดได้ให้บริการ
                       หรือท าหน้าที่การตลาดกับตัวสินค้ามาก  ส่วนเหลื่อมการตลาดของสินค้านั้นจะสูงกว่าสินค้าที่
                       การตลาดได้ให้บริการ  หรือท าหน้าที่การตลาดไม่มากนัก
                                     ข) ลักษณะของสินค้า  สินค้าที่มีลักษณะเน่าเสียง่าย  อยู่ห่างไกลแหล่งบริโภค

                       เทอะทะกินเนื้อที่ (bulkiness) สินค้าประเภทนี้จะมีส่วนเหลื่อมการตลาดสูง  ทั้งนี้เพราะต้องใช้
                       บริการตลาดเป็นพิเศษ  เช่น  การเก็บรักษาพิเศษและการขนส่งพิเศษ  เป็นต้น
                                     ค)  ลักษณะความต้องการของผู้บริโภค  สินค้าใดที่ผู้บริโภคต้องการในรูปร่างที่
                       ส าเร็จรูปมาก  หรือมีความสะดวกสบายในการซื้อหาและบริโภคมาก  ส่วนเหลื่อมการตลาดสินค้านี้จะมี

                       ค่ามากไปด้วย
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40