Page 37 -
P. 37
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
20
5) ส่วนประกอบของส่วนเหลื่อมการตลาด
เนื่องจากส่วนเหลื่อมการตลาดเป็นส่วนต่างระหว่างราคาผู้บริโภคกับราคา
ผู้ผลิตที่เกิดขึ้นในระบบการตลาดสินค้าหรือต้นทุนการตลาดนั่นเอง ดังนั้นการพิจารณาถึง
ส่วนประกอบของส่วนเหลื่อมการตลาดสามารถพิจารณาได้สองลักษณะเช่นเดียวกับต้นทุนการตลาด
คือ
5.1) ส่วนประกอบของส่วนเหลื่อมการตลาดจ้าแนกตามระดับตลาด
ทั้งนี้โดยพิจารณาว่าส่วนเหลื่อมการตลาดสินค้าที่เกิดขึ้นนั้นเนื่องจากตลาดระดับต่าง ๆ เป็นจ านวน
เท่าใด เช่น เป็นส่วนเหลื่อมการตลาดที่เกิดขึ้นในตลาดท้องถิ่น ตลาดระดับนั้นหรือพ่อค้าในตลาด
ระดับนั้นได้ให้บริการคุ้มกับส่วนเหลื่อมหรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหรือไม่ อย่างไร และควรปรับปรุงแก้ไข
ให้ดีขึ้นได้อย่างไร
5.2) ส่วนประกอบของส่วนเหลื่อมการตลาดจ้าแนกตามประเภท
ค่าใช้จ่าย เป็นการพิจารณาว่าส่วนเหลื่อมการตลาดประกอบด้วยรายการค่าใช้จ่ายชนิดใดบ้าง เป็น
จ านวนเท่าใด มีความส าคัญมากน้อยต่างกันอย่างไร ซึ่งรายการต่าง ๆ เหล่านี้ ได้แก่ ค่าขนส่ง
ค่าจ้างแรงงาน ค่าใช้จ่ายในการแปรรูปค่าวัสดุอุปกรณ์และก าไรของผู้ประกอบการ เป็นต้น ดังนั้น
เมื่อน ามาพิจารณาเปรียบเทียบลักษณะของตัวสินค้า แหล่งผลิตสินค้า ลักษณะของสินค้าที่ผู้บริโภค
ต้องการ และแหล่งของผู้บริโภค จะท าให้สามารถเข้าใจและตัดสินใจได้ว่า ค่าใช้จ่ายในรายการต่าง
ๆ นั้นเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายการก าไรของผู้ประกอบการหรือพ่อค้า
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่ควรสนใจมากอีกประการหนึ่งว่า เมื่อระยะเวลาเปลี่ยนแปลงไป หรือ
สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับตลาดเปลี่ยนแปลงไป รายการค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เหล่านี้เปลี่ยนแปลงไป
อย่างไร หรือมีลู่ทางในการลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้อย่างไร
5.3) การวิเคราะห์ส่วนเหลื่อมการตลาด
1) ลักษณะของส่วนเหลื่อมการตลาด การวิเคราะห์ลักษณะของส่วน
เหลื่อมการตลาดเป็นการวิเคราะห์เพื่อให้ทราบถึงลักษณะการคิดส่วนเหลื่อมการตลาดที่หน่วยธุรกิจ
การตลาดเลือกใช้ในการให้บริการหรือท าหน้าที่การตลาดกับสินค้าชนิดต่าง ๆ การวิเคราะห์ลักษณะ
ส่วนเหลื่อมการตลาดนี้อาศัยเครื่องมือทางสถิติมาท าการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้าที่
เกษตรกรได้รับและราคาสินค้าที่ผู้บริโภคจ่าย (หรือราคาสินค้าระดับอื่น ๆ ที่ต่อเนื่องจากระดับราคาที่
เกษตรกรได้รับขึ้นไป) โดยก าหนดรูปสมการดังนี้
P = f(P ) P = ราคาที่ผู้บริโภคจ่าย
f
r
r
= a + bP P = ราคาที่เกษตรกรได้รับ
̅
f
f
a = ค่าคงที่
b = ค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ระหว่างราคาที่เกษตรกรได้รับกับราคา
ที่ผู้บริโภคจ่าย
P = ราคาที่เกษตรกรได้รับเฉลี่ย
̅
r
ส าหรับลักษณะส่วนเหลื่อมการตลาดสินค้าชนิดต่าง ๆ เท่าที่ปรากฏจากการ
วิเคราะห์ข้างต้นนี้แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ ดังนี้