Page 34 -
P. 34
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
17
- ค่าใช้จ่าย (Cost) เนื่องจากต้นทุนการจัดการโซ่อุปทานต่อรายได้ทั้งหมดของ
องค์กร ถ้าสามารถควบคุมได้ดี มีผลต่อความสามารถในการท าก าไรขององค์กรนั้น ๆ ดังนั้นตัววัดนี้
จึงมีความส าคัญต่อการจัดการโซ่อุปทาน (ดวงพรรณ กริชชาญชัย, 2549, หน้า 44) และการบริหาร
ต้นทุน จากการวัดต้นทุนโดยรวมของการส่งมอบให้กับลูกค้า ต้นทุนต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ และ
ความสามารถในการท าก าไร ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างรายได้กับต้นทุนที่เกิดขึ้น หรืออาจหาได้
จากปริมาณพื้นที่ส าหรับจัดเก็บสินค้าคงคลัง เทียบกับค่าใช้จ่ายรวมของการจัดซื้อวัสดุ/ชิ้นส่วน
ส าหรับการผลิต (โกศล ดีศีลธรรม, 2548, หน้า 179)
- ทรัพย์สิน (Assets) เป็นตัวชี้วัดกิจกรรมด้านการเงิน หมายถึง จ านวนรายได้หาร
ด้วยจ านวนทรัพย์สินทั้งหมด จ านวนรอบของสินค้าจะเป็นตัววัดประสิทธิผลของบริษัทในการ
ด าเนินงานต่อทรัพย์สินทั้งหมด (ดวงพรรณ กริชชาญชัย, 2549, หน้า 44) และการบริหารสินทรัพย์
มุ่งการใช้ประโยชน์สินทรัพย์จากการลงทุนในสิ่งอ านวยความสะดวกซึ่งรวมถึงทุนหมุนเวียน ที่ลงทุน
ในสินค้าคงคลัง ดังนั้นการบริหารสินทรัพย์จึงมุ่งการใช้ประโยชน์ส าหรับการด าเนินงาน
(โกศล ดีศีลธรรม, 2548, หน้า 181)
2.1.4 ต้นทุนการตลาด ส่วนเหลื่อมการตลาด และส่วนแบ่งของผู้ผลิต (marketing
cost; marketing margin and farmer’s share)
ส าหรับในส่วนนี้เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายการตลาด ตลอดจน
ส่วนเหลื่อมการตลาดและส่วนแบ่งของผู้ผลิต ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเรื่องของต้นทุนการตลาด
ซึ่งเป็นเพียงการแนะน าให้ทราบว่าต้นทุนการตลาด ส่วนเหลื่อมการตลาด และส่วนแบ่งของผู้ผลิต
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1) ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายการตลาด หมายถึง ค่าใช้จ่ายในรายการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
เนื่องจากการท าหน้าที่การตลาด เพื่อน าสินค้าจากมือผู้ผลิตไปสู่มือผู้บริโภค ซึ่งโดยปกติแล้วต้นทุน
การตลาดหรือค่าใช้จ่ายการตลาดตามที่ว่านี้ จะรวมถึงค่าใช้จ่ายที่เป็นตัวเงินหรือค่าใช้จ่ายที่จ่าย
ออกไปเป็นเงินสด เช่น ค่าจ้างแรงงานกรรมกร ค่าจ้างยานพาหนะในการขนส่ง ค่าจ้างแปรรูป
ค่าวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับภาชนะและอื่น ๆ และค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นตัวเงิน เช่น ค่าจ้างแรงงานส่วนตัว
ค่าเสื่อมราคา ค่าสูญเสียน้ าหนักหรือเสื่อมคุณภาพปกติ ค่าจ้างประกอบการในต าแหน่งผู้จัดการ
ค่าดอกเบี้ยเงินลงทุนส่วนตัว และค่าเสียโอกาสอย่างอื่น ๆ จากรายการเหล่านี้ จึงหมายถึงต้นทุน
หรือค่าใช้จ่ายการตลาดจึงท าให้ทราบได้ว่า การท าหน้าที่การตลาดมีค่าใช้จ่ายรวมเป็นเงินเท่าไร
ประกอบด้วยรายจ่ายค่าใช้จ่ายประเภทใดบ้าง และแต่ละรายการมีความส าคัญมากน้อยแตกต่างกัน
อย่างไร
2) ส่วนเหลื่อมการตลาด หมายถึงความแตกต่างระหว่างราคาสินค้าที่ผู้บริโภค
จ่าย (consumer price) กับราคาที่ผู้ผลิตได้รับ (farm price) ในหน่วยเดียวกัน เช่น ในเดือน
พฤศจิกายน ปี 2530 ราคาข้าวโพดที่ท่าเรือกรุงเทพฯ เท่ากับกิโลกรัมละ 3.00 บาท ราคาที่
ชาวไร่ข้าวโพดขายได้เท่ากับ 2.25 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนเหลื่อมการตลาดข้าวโพดในเดือน
พฤศจิกายนปี 2530 จึงเท่ากับ 0.75 บาทต่อกิโลกรัม อย่างไรก็ตาม การพิจารณาถึงส่วนเหลื่อม
การตลาดมักนิยมกล่าวหรือแสดงในรูปของร้อยละของราคาสินค้าที่ผู้บริโภคจ่ายเสมอ ดังนั้นจึงอาจ