Page 28 -
P. 28

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                        11







                                      (2.3) ประโยชน์ของสินค้าคงคลัง
                                                   1.  เป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ประมาณการไว้ใน
                       แต่ละช่วงเวลา ทั้งในฤดูกาล และนอกฤดูกาล โดยธุรกิจต้องเก็บสินค้าคงคลังไว้ในคลังสินค้า
                                                   2.  เป็นการรักษาการผลิตให้มีอัตราคงที่สม่ าเสมอ เพื่อรักษาระดับ

                       การว่าจ้างแรงงาน การเดินเครื่องจักร ฯลฯ ให้สม่ าเสมอได้โดยจะเก็บสินค้าที่จ าหน่ายไม่หมดในช่วงที่
                       จ าหน่ายได้ไม่ดี ไว้จ าหน่ายตอนช่วงเวลาที่ลูกค้า หรือผู้บริโภคมีความต้องการ ซึ่งในช่วงเวลานั้น
                       อาจจะผลิตไม่ทันการจ าหน่าย
                                                   3.  ท าให้ธุรกิจได้ส่วนลดปริมาณ (Quantity Discount) จากการ

                       จัดซื้อสินค้าจ านวนมากต่อครั้ง เพื่อเป็นการป้องกันการเปลี่ยนแปลงราคา และผลกระทบจากเงินเฟ้อ
                       เมื่อสินค้าในท้องตลาดมีราคาเพิ่มสูงขึ้น
                                                   4.  ป้องกันสินค้าขาดมือ ด้วยสินค้าเผื่อขาดมือ เมื่อเวลาที่รอคอย
                       เกิดความล่าช้า หรือบังเอิญได้ค าสั่งซื้อเพิ่มขึ้นอย่างกระทันหัน

                                                   5.  ท าให้กระบวนการผลิตสามารถด าเนินการต่อเนื่องอย่างราบรื่น
                       ไม่มีการหยุดชะงัก อันเนื่องจากของขาดมือ จนท าให้เกิดความเสียหายแก่กระบวนการผลิต ซึ่งจะท าให้
                       คนว่างงาน เครื่องจักรถูกปิด หรือผลิตไม่ทันค าสั่งซื้อของลูกค้า

                              2.1.3 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain management)
                                เพื่อให้การด าเนินงานด้านการจัดการโซ่อุปทานสามารถท าไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                       การแบ่งประเภทกิจกรรมที่มีอยู่ในโซ่อุปทานออกมาชัดเจน ท าให้การด าเนินงานสามารถท าได้ง่ายขึ้น
                       เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานสามารถมองเห็นภาพในการปฏิบัติงานได้อย่างชัดเจนขึ้น ในส่วนต่อไปนี้จะ
                       กล่าวถึงประเภทและความหมายของกิจกรรมในโซ่อุปทาน

                                  (1) การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management)
                                    การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationship Management)
                       หรือ CRM ประกอบด้วยกิจกรรมพัฒนาเพื่อสร้างความภักดีและตอบสนองอุปสงค์ความต้องการให้กับ
                       ลูกค้าแต่ละกลุ่ม ซึ่งให้ผลตอบแทนไม่เท่ากัน (โกศล ดีศีลธรรม, 2548, หน้า 13)
                                    ขั้นตอนแรกที่จะก้าวสู่การจัดการห่วงโซ่อุปทานแบบบูรณาการคือ การระบุ

                       ลูกค้าหรือกลุ่มลูกค้าหลักที่องค์กรมุ่งเน้นว่ามีความส าคัญและกระทบต่อการท าธุรกิจ  ข้อตกลงใน
                       สินค้าและบริการที่บ่งบอกถึงระดับการให้บริการถูกสร้างขึ้นด้วยกลุ่มลูกค้าหลักเหล่านี้ ทีมบริการ
                       ลูกค้าท างานกับลูกค้าเพื่อที่จะสามารถระบุและก าจัดแหล่งต้นเหตุของการเปลี่ยนแปลงความต้องการ

                       ของลูกค้า การประเมินวัดผลงานช่วยวิเคราะห์ระดับการให้บริการที่ให้กับลูกค้ารวมทั้งความสามารถ
                       ในการท าก าไรของลูกค้า (Lambert & Cooper, 2000)
                                    ขั้นแรกในการบูรณาการโซ่อุปทาน (Integrated SCM) คือ การระบุกลุ่มลูกค้า
                       หลักหรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของกิจการเนื่องจากทีมงานให้บริการลูกค้าต้องพยายามสร้างแผนงาน

                       การพัฒนาความสัมพันธ์ให้เข้ากับลูกค้ากลุ่มนี้ ซึ่งหากการพัฒนาความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นผลส าเร็จ ก็
                       จะช่วยให้กิจการมีการติดต่อสื่อสารที่ดีกับลูกค้า และสามารถพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าได้ดี
                       มากขึ้นซึ่งท้ายที่สุดส่งผลดีต่อการให้บริการลูกค้าและผลก าไรระยะยาวของกิจการ (Grant et al,
                       2006)
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33