Page 26 -
P. 26
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
9
ตลอดสายโซ่ ซึ่งลักษณะของห่วงโซ่อุปทานจะมีลักษณะเป็นเครือข่าย หรือที่เรียกกันว่า เครือข่าย
โลจิสติกส์ (Logistic Network) นั้นจะประกอบไปด้วย ผู้จัดส่งสินค้าหรือผู้จัดหาวัตถุดิบ (Supplier)
ศูนย์การผลิต (Manufacturing Centers) คลังสินค้า (Warehouses) ศูนย์กระจายสินค้า
(Distribution Centers) และร้านค้าปลีก (Retail Outlets) ซึ่งจะมีการไหลเวียน (Flow) ของวัตถุดิบ
สินค้าระหว่างการผลิต (Work in Process) และสินค้าส าเร็จรูประหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ภายใน
ห่วงโซ่อุปทาน
ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ที่ดีจะส่งผลให้องค์กรเกิดความสามารถในการ
แข่งขันและรูปแบบทางการตลาดคือ การเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารเพื่อการพัฒนาสินค้าร่วมกัน ท าให้
เกิดการเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถและก าลังการผลิตขององค์กรร่วมกับพันธมิตร ก่อให้เกิด
ความสามารถในการแข่งขัน การเปลี่ยนแปลงในระบบการผลิตจากระบบ Push และการผลิตแบบ
Mass Production มาเป็นระบบ Poll ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการลูกค้าได้อย่างตรงใจ
มากกว่า
2.1.2 แนวคิดเรื่องโลจิสติกส์
(1) ความหมายของโลจิสติกส์
ทีวีศักดิ์ เทพพิทักษ์ (2550) การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
คือส่วนหนึ่งของโซ่อุปทานซึ่งเป็นกระบวนการในการวางแผน การน าเสนอ และควบคุมการไหลที่มี
ประสิทธิภาพและประสิทธิผล และการเก็บสินค้า บริการ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากจุดเริ่มต้นในการ
ผลิตไปสู่จุดสุดท้ายของการบริโภคเพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
วิทยา สุหฤทด ารง (2546) กล่าวว่า โลจิสติกส์เป็นการด าเนินงานที่รวบรวม
เอากิจกรรมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดหา การเคลื่อนย้าย การจัดเก็บและการจัดส่งสถานะทั้งหมด
ของสินค้าที่ท าการผลิต โดยมีการบริการและการบริหารข้อมูล เป็นปัจจัยสนับสนุนที่ช่วยท าให้การ
ด าเนินงานต่าง ๆ สามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเฟืองหลักที่ช่วยขับเคลื่อนเฟือง
ของการด าเนินงานในส่วนต่าง ๆ ของระบบการผลิตให้หมุนเคลื่อนที่และเกิดการขับเคลื่อนกิจกรรม
ต่าง ๆ ขององค์กรได้ ทั้งนี้การส่งถ่ายก าลังจากเฟืองตัวหนึ่งไปยังเฟืองอีกตัว จะเกิดประสิทธิภาพได้
นั้นขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการส่งถ่ายก าลังของเฟืองโลจิสติกส์เป็นส าคัญ
ฐาปนา บุญหล้าและนงลักษณ์ นิมิตภูวดล (2555: 26) กล่าวว่า โลจิสติกส์
เป็นกระบวนการวางแผน การปฏิบัติงานและการควบคุมสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ทั้งล่วงหน้าและย้อนกลับของการเคลื่อนย้ายและจัดเก็บสินค้า การบริการสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง
ตั้งแต่จุดก าเนิดจนถึงจุดการบริโภคสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งการจัดการ
โลจิสติกส์นั้นจัดเป็นองค์ประกอบของการจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Management)
จากความหมายดังกล่าวสามารถสรุปความหมายของโลจิสติกส์ได้ว่า
การจัดการโลจิสติกส์ หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการด าเนินงาน การรวบรวม การจัดหา
การเคลื่อนย้าย การจัดเก็บและการจัดส่ง จากจุดเริ่มต้นไปยังจุดสุดท้ายถึงผู้บริโภค โดยเกี่ยวข้องกับ
การเคลื่อนที่ของวัตถุและการสร้างมูลค่าเพิ่มเข้าไปในวัตถุที่เคลื่อนที่ในระบบ จึงเป็นองค์ประกอบ
หนึ่งของการจัดการโซ่อุปทาน