Page 25 -
P. 25
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
8
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาการจัดการห่วงโซ่อุปทานปลาน้ าจืดธรรมชาติสู่การเพิ่มมูลค่าใน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือตัวแทนกลุ่ม
ชาวประมงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 6 พื้นที่ ชาวประมงนอกกลุ่มพื้นที่ กลุ่มแปรรูป
ผลิตภัณฑ์จากปลาและกลุ่มลูกค้าซื้อปลาสดและปลาแปรรูป ดังนั้นในบทนี้จะเป็นการกล่าวถึง
เอกสารและงานวิจัยที่มีการศึกษาถึงการจัดการห่วงโซ่อุปทาน โดยมีรายละเอียดดังนี้
2.1 แนวคิดและทฤษฎี
ในส่วนนี้จะกล่าวถึงความหมายของการจัดการโซ่อุปทาน ส่วนประกอบหลักของการจัดการ
โซ่อุปทาน ตลอดจนเนื้อหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อน ามาสร้างเป็นแบบสอบถาม โดยมีรายละเอียด
ดังนี้
2.1.1 ความหมายของการจัดการห่วงโซ่อุปทาน
2.1.2 แนวคิดเรื่องโลจิสติกส์
2.1.3 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management)
2.1.4 ต้นทุนการตลาด ส่วนเหลื่อมการตลาด และส่วนแบ่งของผู้ผลิต (marketing cost;
marketing margin and farmer’s share)
2.1.5 แนวคิดการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis)
2.1.1 ความหมายของการจัดการห่วงโซ่อุปทาน
การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) จะประกอบด้วยขั้นตอน
ทุกๆ ขั้นตอนที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมที่มีต่อการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งไม่
เพียงแต่อยู่ในส่วนของผู้ผลิตและผู้จัดส่งวัตถุดิบเท่านั้น แต่รวมถึงส่วนของผู้ขนส่ง คลังสินค้า
พ่อค้าคนกลางและลูกค้าอีกด้วย ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างกันนั้นคือ สายสัมพันธ์ทางธุรกิจ
(Business Relationship) ตั้งแต่ต้นน้ าถึงปลายน้ า ซึ่งสายสัมพันธ์ที่ดีในทางธุรกิจจะท าให้เกิดความ
ไว้วางใจ จะน าไปสู่การเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ (Business Alliance) ซึ่งจะท าให้การด าเนินงานภาย
ห่วงโซ่อุปทานได้ผลที่มากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ในระยะยาวของธุรกิจ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์
ร่วมกันกับทุกฝ่าย โดยโซ่อุปทานจะมีลักษณะการเคลื่อนที่ของข้อมูลเกี่ยวข้องกับการไหลของข้อมูล
ผลิตภัณฑ์และเงินทุนของขั้นตอนต่าง ๆ โดยแต่ละขั้นของโซ่อุปทานจะมีกระบวนการที่แตกต่างกัน
และมีความเกี่ยวข้องกับขั้นตอนส่วนอื่นๆ ของโซ่อุปทาน ซึ่งส่วนที่ส าคัญที่สุดของห่วงโซ่อุปทานคือ
ลูกค้า เพราะลูกค้าจะประสานรวมส่วนต่าง ๆ ของโซ่อุปทาน โดยวัตถุประสงค์ของห่วงโซ่อุปทานคือ
การตอบสนองความต้องการของลูกค้าเพื่อที่จะท าให้เกิดความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์และบริการของ
หน่วยธุรกิจ ซึ่งจะส่งผลก าไรตามมา ซึ่งกลยุทธ์ในการแข่งขันทางธุรกิจจะมุ่งเน้นเป้าหมายลูกค้าหนึ่ง
กลุ่มหรือมากกว่านั้น กิจกรรมของห่วงโซ่จะเริ่มต้นจากค าสั่งซื้อของลูกค้า และสิ้นสุดเมื่อลูกค้าได้รับ
สินค้าตามที่ได้สั่งซื้อ ซึ่งสิ่งที่ส าคัญคือควรจะมองให้เห็นถึงการไหลของข้อมูล เงินทุน และผลิตภัณฑ์