Page 20 -
P. 20

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                         3







                       และบริการได้ต่ าลงพร้อมกับการตั้งราคาได้ต่ ากว่าคู่แข่ง ตลอดจนการบริการเพื่อสร้างความประทับใจ
                       ให้เกิดขึ้นในตัวลูกค้าด้วยการท างานเป็นทีม จึงเห็นได้ว่าการจัดการห่วงโซ่อุปทานเป็นการจัดการที่
                       ช่วยในการผลักดันธุรกิจหรือองค์กรให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันได้ และเมื่อได้มีการปฏิบัติโดยรวม
                       ทั้งห่วงโซ่อุปทาน การแข่งขันก็จะเป็นไปในลักษณะของการแข่งขันระหว่างสายของห่วงโซ่อุปทาน

                       แทนการแข่งขันระหว่างองค์กรหรือระหว่างบริษัท
                              จากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 – 2559) ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่
                       การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน เป็นหนึ่งใน 6 ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ที่เน้นให้
                       ความส าคัญกับปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ มีทิศทางการพัฒนาธุรกิจในภาคบริการ อุตสาหกรรม และ

                       ภาคเกษตร ในส่วนของภาคเกษตร เน้นผลักดันการเพิ่มผลิตภาพการผลิตและการตลาด สนับสนุน
                       การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรทั้งอาหารและไม่ใช่อาหาร ทั้งนี้ยังรวมไปถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
                       และระบบโลจิสติกส์ และในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12  (พ.ศ.2560 – 2564) ยุทธศาสตร์การพัฒนา
                       โครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ เป็นอีกหนึ่งยุทธศาสตร์ที่ส าคัญในการพัฒนาประเทศในยุค

                       ดิจิทัล เนื่องจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ เป็นปัจจัยส าคัญในการสนับสนุน
                       เศรษฐกิจและสังคม การกระจายความเจริญ และการพัฒนาเมืองและพื้นที่ รวมทั้งการยกระดับ
                       คุณภาพชีวิตของประชาชน โดยมุ่งเน้นพัฒนาและยกระดับมาตรฐานระบบการบริหารจัดการ

                       โลจิสติกส์และโซ่อุปทานให้ได้มาตรฐานสากลและสนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มตลอดห่วงโซ่อุปทาน
                       ซึ่งในภาคเกษตรมีการก าหนดกรอบแนวทางการพัฒนา เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการโลจิสติกส์
                       ในภาคการเกษตร โดยสนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
                       การเกษตร สร้างโซ่คุณค่าให้แก่เกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบธุรกิจ ตั้งแต่ระดับฟาร์มจน
                       ส่งมอบสินค้าเกษตรถึงผู้บริโภค (Logistic Management from Farm to Consumer) ปรับปรุง

                       โครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์การเกษตรให้สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันในชุมชนหรือระหว่างผู้ที่
                       เกี่ยวข้องตลอดโซ่การผลิต อาทิ การสร้างศูนย์รวบรวมคัดแยก ตกแต่งคุณภาพ แปรรูป บรรจุภัณฑ์
                       และกระจายผลผลิตของชุมชน (ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,

                       2559)
                              ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีแหล่งทรัพยากรที่ส าคัญในการผลิตอาหาร เนื่องจากภูมิประเทศ
                       เหมาะในการประกอบอาชีพทางการเกษตร ทั้งทางบกและทางน้ า เป็นผลให้ประเทศไทยมีสินค้าทาง
                       การเกษตรประเภทพืชผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ในปริมาณมาก โดยเฉพาะอาหารประเภทปลาน้ าจืด ซึ่ง

                       ปลาถือเป็นอาหารประเภทโปรตีนชนิดหนึ่งที่หาได้ง่ายตามแม่น้ าล าคลองและแหล่งน้ าธรรมชาติต่างๆ
                       อีกทั้งยังเป็นอาหารหลักอย่างหนึ่งของคนไทย เนื่องจากคนไทยโบราณนิยมปลูกเรือนใกล้แม่น้ า
                       ล าคลอง และในวันที่จับปลามาได้มากมักจะแบ่งปันให้ญาติหรือเพื่อนบ้านได้รับประทานกันอย่าง
                       ทั่วถึง ตามนิสัยโอบอ้อมอารีของคนไทยในสมัยก่อน ส่วนที่เหลือจะเก็บรักษาไว้ โดยการถนอมอาหาร

                       เช่น การหมักเกลือ ท าเป็นปลาร้า ปลาแดดเดียว หรือย่างรมควัน เพื่อเก็บไว้บริโภคในครัวเรือนใน
                       วันที่ขาดแคลน ส่วนในปัจจุบันอาหารประเภทปลาหาซื้อได้ง่าย อีกทั้งยังเป็นอาหารประเภทโปรตีนที่
                       มีราคาถูกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่น ๆ
                              ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า ปลาน้ าจืดตามแหล่งน้ าธรรมชาติ ถือว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่

                       ผูกพันส าหรับคนไทยเป็นจ านวนมาก เนื่องจากเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีกระจายตามทั่วทุกแห่งของ
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25