Page 19 -
P. 19

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                         2

































                                        ภาพที่  1.2 แสดงแผนที่จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

                              ในปัจจุบันสภาพการแข่งขันทางการผลิตสินค้ามีความรุนแรงมากขึ้น อีกทั้งผลิตภัณฑ์ที่ออก
                       ใหม่ มีวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ที่สั้นลง ในขณะเดียวกันลูกค้ามีความคาดหวังสูงขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนผลักดัน

                       ให้องค์กรธุรกิจต้องลงทุนแสวงหากลยุทธ์เพื่อให้ทันความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร
                       และการขนส่งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น ระบบการสื่อสารชนิดเคลื่อนที่และการขนส่งแบบข้ามคืน
                       เป็นต้น การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) จึงเป็นกลยุทธ์อีกอย่างหนึ่งซึ่งถือ
                       ว่าเป็นแนวคิดการจัดการเชิงกลยุทธ์สมัยใหม่ที่สามารถช่วยในการลดต้นทุนและตอบสนองต่อความ

                       ต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เทคนิคทางด้านการบริหารการด าเนินงานและ
                       เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยเพื่อให้ทันต่อการแข่งขันในยุคปัจจุบัน และมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนา
                       ห่วงโซ่อุปทานและเทคนิคการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างต่อเนื่อง การจัดการห่วงโซ่อุปทานจะเริ่มจาก

                       การจัดหาวัตถุดิบต่าง ๆ มาป้อนให้กับโรงงานผลิต ซึ่งอาจจะเป็นโรงงานแห่งเดียวหรือหลายแห่ง เมื่อ
                       ผลิตเสร็จก็น าไปจัดเก็บในคลังสินค้าเพื่อรอการกระจายให้กับร้านค้าปลีกหรือลูกค้าส่งต่อไป ด้วยเหตุ
                       นี้กลยุทธ์ห่วงโซ่อุปทานจะต้องค านึงถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่อยู่ภายในห่วงโซ่อุปทาน
                       หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครือข่ายโลจิสติกส์ (Logistic Network) นั้นประกอบไปด้วยผู้จัดส่งสินค้า
                       หรือผู้จัดหาวัตถุดิบหรือซัพพลายเออร์ (Supplier) ศูนย์การผลิต (Manufacturing Centers)

                       คลังสินค้า (Ware houses) ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Centers) และร้านค้าปลีก (Retail
                       Outlets) ซึ่งจะมีการไหลเวียน (Flow) ของวัตถุดิบ สินค้าระหว่างการผลิต (Work In Process) และ
                       สินค้าส าเร็จรูประหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ภายในห่วงโซ่อุปทาน (หทัยรัตน์ ชูแสงนิล, 2551)

                              การจัดการห่วงโซ่อุปทานเป็นกลยุทธ์ที่มีบทบาทอย่างมากในปัจจุบันที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถ
                       แข่งขันกับโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่เปลี่ยนแปลงไป ธุรกิจมากมายมุ่งให้ความสนใจต่อการจัดการห่วงโซ่

                       อุปทานและมีการน ามาปฏิบัติอย่างจริงจัง ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังที่จะให้ธุรกิจของตนยืนหยัดอยู่ได้ต่อสภาพ
                       การเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันที่รุนแรง และเพื่อให้ธุรกิจประสบความส าเร็จสามารถตอบสนอง
                       ความต้องการของลูกค้า สามารถสร้างประโยชน์โดยรวมที่ได้จากการจัดการห่วงโซ่อุปทานนั้น

                       ครอบคลุมไปถึงคุณภาพของสินค้าและบริการที่เป็นที่น่าพึงพอใจ อีกทั้งสามารถลดต้นทุนของสินค้า
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24