Page 27 -
P. 27
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
10
(2) กิจกรรมหลักของโลจิสติกส์
(2.1) การขนส่ง
โลจิสติกส์ (Logistics) ในด้านการขนส่ง ค านี้ตามพจนานุกรม
แปลว่า การส่งก าลังบ ารุง และความหมายในยุคศตวรรษที่ 19 ในเรื่องที่เกี่ยวกับการขนส่งสิ่งของ
หมายถึง การวางแผนและบริหารจัดการเพื่อล าเลียงสิ่งของจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยเฉพาะ
ในทางทหารและอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งของ แต่ถ้าอยู่ในเรื่องของการบริหารองค์กรที่มีสายงานมาก
และซับซ้อนหมายถึง การวางแผนและบริหารจัดการภารกิจที่มีความยุ่งยากซับซ้อน
เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ความหมายของโลจิสติกส์ก็เปลี่ยนไปตาม
วิธีการด าเนินธุรกิจของโลกในยุคศตวรรษที่ 20 ในทางการทหาร หมายถึง การวางแผนและบริหาร
จัดการเพื่อการเคลื่อนกองทัพ ก าลังพล ยุทโธปกรณ์ และสิ่งอุปโภคต่าง ๆ ส่วนในด้านอุตสาหกรรม
และธุรกิจ หมายถึง การวางแผนและควบคุมการเคลื่อนไหลของวัตถุดิบและผลผลิต รวมไปถึง
การกระจายสินค้าสู่ตลาดจนถึงปัจจุบัน โลจิสติกส์ หมายถึง ต้นทุนด้านการขนส่งของประเทศ
การผลิตสินค้าหรือการบริการต่าง ๆ ย่อมต้องมีการติดต่อขนส่ง เช่น ขนส่งวัตถุดิบจากแหล่งวัตถุดิบ
ไปยังโรงงานผ่านกระบวนการผลิตจนเป็นสินค้า จากนั้นต้องมีการขนส่งสินค้าสู่ตลาด เพื่อกระจายให้
ถึงผู้บริโภค ต้นทุนด้านการขนส่งมิได้หมายถึงเฉพาะค่าใช้จ่ายของยานพาหนะ แต่รวมถึงวิธีการบรรจุ
หีบห่อ ขนถ่าย และป้อนเข้าโรงงาน หากท าได้รวดเร็วประหยัดมีการสูญเสียน้อย นั่นย่อมหมายถึง
ต้นทุนที่ต่ า ในการกระจายผลผลิตสู่ตลาดและผู้บริโภคก็ต้องมีต้นทุนต่ าด้วย โดยมีการจัดองค์กรหรือ
กระบวนการผลิตอย่างเหมาะสมคุ้มค่า ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์จึงครอบคลุมหลาย
ฝ่าย ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบวิธีการบรรจุ ขนถ่าย กระบวนการส่ง–รับของ ผู้จัดสร้างโครงสร้างพื้นฐาน
ด้านการขนส่งต่าง ๆ ทั้งระบบถนน ระบบราง ท่าเรือ ท่าอากาศยาน ศุลกากร และโรงเก็บสินค้า
เป็นต้น ต้นทุนด้านการขนส่งจะต่ าได้ต่อเมื่อการขนถ่ายและน าส่งผลิตภัณฑ์ถึงจุดหมายโดยเร็ว
สูญเสียน้อย สินค้าถึงมือผู้รับตามเวลาโดยเร็ว
(2.2) การบริหารสินค้าคงคลัง
การจัดการคลังสินค้า (Warehouse management) หมายถึง
การจัดส่งสินค้าให้ผู้บริโภคเพื่อกิจกรรมในทางเศรษฐกิจ เป้าหมายในการด าเนินธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับ
คลังสินค้าเพื่อก่อให้เกิดการด าเนินการเป็นระบบให้คุ้มกับการลงทุน การควบคุมคุณภาพของการเก็บ
รักษาสินค้า การป้องกันการสูญเสียจากการด าเนินงาน เพื่อให้ต้นทุนในการด าเนินงานต่ าที่สุดแต่
ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ส านักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าว
ว่าสินค้าคงคลังมีวัตถุประสงค์ในการสร้างความสมดุลในซัพพลายเชน (Supply Chain) เพื่อให้
ระดับสินค้าคงคลังต่ าสุดโดยไม่กระทบต่อระดับการให้บริการ ซึ่งปัจจัยน าเข้า (Input) ของ
กระบวนการผลิตที่มีความส าคัญอย่างยิ่ง คือ วัตถุดิบ (Raw Material) ชิ้นส่วน (Parts) และ
วัสดุต่าง ๆ (Material) ที่เรียกรวมกันว่า สินค้าคงคลัง เป็นองค์ประกอบที่ใหญ่ที่สุดของ
ต้นทุนการผลิต ผลิตภัณฑ์หลายชนิด นอกจากนั้นการที่มีสินค้าคงคลังที่เพียงพอยังเป็นการ
สนองตอบความพึงพอใจของลูกค้าได้ทันที