Page 36 -
P. 36

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                                                                                                        36





                    ศัตรูพืช การกางมุ้งไนลอนกันแมลง ซึ่งวิธีกลเหล่านี้หลายวิธีอาจจําเป็นที่ต้องใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อน


                    มีตุ้นทุนเกษตรกรรายย่อยอาจจะไม่สามารถนําไปใช้ได้ด้วยข้อจํากัดทางด้านทุนทรัพย์  นอกจากนั้น

                    เกษตรกรยังสามารถกําจัดศัตรูพืชด้วยวิธีผสมผสาน (Integrated Pest Management: IPM )คือการนําเอา

                    วิธีต่างๆที่ใช้ในการป้องกันและกําจัดศัตรูพืชที่กล่าวไปแล้วมากกว่าหนึ่งวิธีมาใช้ร่วมกันเพื่อเพิ่ม

                    ประสิทธิภาพยิ่งกว่าการใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่ง (พิมลพร นันทะ, 2536) นอกจากที่กล่าวมาแล้วนั้นการ

                    ลดปริมาณการใช้ปุ๋ ยในการทํานาหรือการใช้ปุ๋ ยหมักหรือการหมักฟางข้าวก่อนใส่ลงในนาข้าวเป็น

                    แนวทางที่ผู้เชี่ยวชาญในทางการเกษตรเสนอแนะว่าสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวซึ่ง

                    เป็นการช่วยลดก๊าซเรือนกระจกอีกทางหนึ่ง (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2555)







                    2.5 นโยบายในการส่งเสริมการเกษตร


                         ในอดีตการพัฒนาการเกษตรซึ่งกําหนดในพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1-5

                    (พ.ศ.2504-2529) เน้นการกําหนดเป้าหมายการเติบโตการเกษตรที่เน้นปริมาณผลผลิตและการส่งออก

                    สินค้าเกษตร โดยการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตร ระบบชลประทาน การคมนาคม

                    เชื่อมต่อตลาดสินค้า เปลี่ยนระบบการเกษตรแบบยังชีพผสมผสานเป็นการเกษตรเชิงเดี่ยวเพื่อการค้า


                    (สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2503, สํานักงานคณะกรรมการ

                    พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2509) โดยแผนพัฒนาฯฉบับที่ 3 (พ.ศ.2515-2519) มีนโยบาย

                    ให้จัดตั้งเขตส่งเสริมการเกษตรเพื่อผลิตพืชเศรษฐกิจบางชนิด การขยายพื้นที่ปลูกและเพิ่มรอบการปลูก

                    หลายครั้งต่อปี  มีการจําแนกสมรรถนะที่ดินที่เหมาะสมกับการเกษตร(สํานักงานคณะกรรมการ

                    พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2514) ในแผนพัฒนาฯฉบับที่ 4 (พ.ศ.2520-2524) นอกจากการ

                    มุ่งเน้นการขยายพื้นที่ชลประทานขนาดเล็ก ขยายสินเชื่อทางการเกษตรแล้วยังส่งเสริมเรื่องกรรมสิทธิ์

                    ที่ดินรวมถึงการปลูกพืชให้เหมาะสมกับคุณภาพดินเพื่อสร้างประสิทธิภาพการผลิตให้กับเกษตรกร

                    (สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2519) แม้ว่าในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับ


                    ที่ 3 และ 4 จะส่งเสริมให้ปลูกพืชตามความเหมาะสมของคุณภาพดินแต่ทว่ายังไม่สามารถจูงใจ

                    เกษตรกรได้เพียงพอ การตัดสินใจเลือกชนิดพืชที่ปลูกยังคงดําเนินการตามราคาตลาดเป็นสําคัญ ใน
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41