Page 32 -
P. 32
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
32
ที่ทนแล้งก็ช่วยในเรื่องการจัดการนํ้าเช่นเดียวกัน อาทิ ข้าวทนแล้ง ข้าวดอกมะลิ 105 กข 6 กข 8 กข 15
หางยี 71 พัทลุง 60 พันธุ์ถั่วเขียวอู่ทอง 1 พันธุ์ถั่วลิสง สข 38 พันธุ์อ้อยชัยนาท 1 หรือปลูกมะละกอ ข้าว
ฟ่างหวาน งาดํา พืชไร่ และพืชตระกูลถั่ว (Organic, 2559)
ประเทศไทยมีข้อได้เปรียบในเชิงของต้นทุนของระบบนิเวศธรรมชาติที่อยู่ในเขตร้อนชื้น มี
ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติซึ่งเหมาะสมต่อการเกษตรกรรม ทว่าความเสื่อมโทรมและการ
สูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของดินก็เป็นปัญหาที่พบเห็นกันในระยะหลังของประเทศไทย ส่วนหนึ่งนั้น
มาจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวในวงกว้างโดยเฉพาะข้าวซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักและขาดการจัดการที่ดี
การปลูกพืชในลักษณะนี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจ สังคมและสภาพแวดล้อม เช่น การใช้
สารเคมีทางการเกษตรเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดินส่งผลให้เกิดการตกค้างของสารเคมีในดินและนํ้า
และต้นทุนทางการเกษตรที่สูงขึ้น แม้ว่าจะมีการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์เพื่อเป็นทางเลือกในการทํา
การเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นแต่ทว่าการทําเกษตรอินทรีย์เพียงอย่างเดียวไม่ได้เป็น
หลักประกันผลผลิตทางการเกษตร ยังคงมีเรื่องการติดโรค ศัตรูพืช คุณภาพของพันธุ์พืช ดินที่ไม่อุดม
สมบูรณ์ และขาดแรงงานในการทําการเกษตร (Diamond, 2011) ทางออกหนึ่งที่จะช่วยในการพัฒนา
คุณภาพของดิน ที่ดิน ตลอดจนการใช้นํ้าคือการปลูกพืชหลากหลาย (crop diversification) สนับสนุน
โดยงานของ Pingali (2004) ที่ชี้ให้เห็นว่าการปลูกพืชที่หลากหลายมีนัยยะสําคัญในการช่วยลดปัญหา
ความยากจนหรือช่วยในการเติบโตของรายได้โดยเฉพาะสําหรับครัวเรือนเกษตรกรรายย่อย และยังเป็น
การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรดินหรือทรัพยากรนํ้า (FAO/RAP, 2000) ซึ่ง
สอดคล้องกับผลการศึกษาของ Kar et al. (2004) ที่พบว่าความหลากหลายของพืชสามารถใช้เป็น
ตัวชี้วัดหนึ่งในการลดปัญหาความแห้งแล้ง เพิ่มประสิทธิภาพการใช้นํ้าในไร่นา ในขณะเดียวกันก็ยัง
ช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่อีกด้วย ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับงานวิจัยของ กุลวดี แก่นสันติสุขมงคล และ
คณะ (2555) ที่ใช้การประเมินด้วยโมเดล DPSIR (Driver-Pressure-State-Impact-Response) พบว่าความ
หลากหลายของแหล่งอาหารและรูปแบบการทําการเกษตรที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการทําไร่
หมุนเวียนหรือการทําการเกษตรแบบผสมผสานรวมทั้งการทําการเกษตรปลอดสารเคมีเป็นส่วนหนึ่งที่
จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตครัวเรือนเกษตรกร