Page 28 -
P. 28
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
28
(IPCC, 2007, FAO, 2008, Schiavone, 2010) ชี้ให้เห็นว่าระบบการเกษตรมีความเปราะบางต่อการ
เปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เช่น นํ้าท่วม นํ้าแล้ง พายุ การเพิ่มขึ้นของระดับนํ้าทะเลซึ่งมีสาเหตุจากการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินทางการเกษตรและการจัดการที่ดินเป็น
ส่วนหนึ่งที่จะช่วยในการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนและลดความเปราะปรางดังกล่าว
Saltiel (1994) เสนอแนะว่าการปลูกพืชที่หลากหลาย การใช้ปุ๋ ยอินทรีย์และการคลุมดินเป็นการ
เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรดิน การเก็บกักนํ้าให้มากที่สุดและการใช้ประโยชน์
จากนํ้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด (SAFS, 2013) ยังสามารถช่วยในการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกได้
นอกจากนั้นการ บูรณาการและประยุกต์ใช้เทคนิคที่หลากหลายในการกําจัดศัตรูพืช การลดใช้
สารเคมีจะเป็นการช่วยควบคุมการแพร่กระจายของศัตรูพืชในอนาคตและยังช่วยในการส่งเสริม
สภาพแวดล้อมที่ดีอีกด้วย อีกทั้งการลดการพึ่งพิงปัจจัยจากภายนอกหมู่บ้านให้น้อยที่สุดโดยการเปลี่ยน
จากการใช้ปุ๋ ยเคมีมาใช้ปุ๋ ยอินทรีย์ หรือใช้วิธีกลในการกําจัดแมลง วัชพืชแทนซึ่งจะเป็นการช่วยส่งเสริม
ความยั่งยืนทั้งกับระบบนิเวศและระบบเศรษฐกิจของครัวเรือนอีกด้วย เนื่องจากการจัดซื้อสารเคมี
ทางการเกษตรคิดเป็นสัดส่วนของต้นทุนที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับปัจจัยทางการผลิตอื่นๆ และยังนํามาซึ่ง
หนี้สินของครัวเรือนอีกด้วย (จุฑามาศ การสุวรรณ และคณะ, 2546)
ประเทศไทยเริ่มใช้โนบายเพิ่มความหลากหลายของพืชพันธุ์ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
ฉบับที่ 8 (Kasem, 2010) ในหลากหลายรูปแบบ เช่น การสนับสนุนให้เครดิตสําหรับเกษตรกรที่สมัคร
ใจเข้าร่วมโครงการอบรมและสร้างความตระหนัก แต่ในทางปฏิบัติหลายๆโครงการไม่ประสบ
ความสําเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากผู้ดําเนินโครงการขาดความเข้าใจถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของ
เกษตรกรในการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชให้มีความหลากหลาย ผลการศึกษาของ (Kasem et al., 2011)
พบว่าการปลูกข้าวอย่างเดียวได้รับความนิยมในกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาและเครื่องมือเชิงนโยบายมีความ
จําเป็นต่อการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชที่หลากหลาย นอกจากนั้นปัจจัยเรื่องแรงงงานก็ส่งผลต่อ
ประสิทธิภาพในการผลิตเช่นเดียวกันเนื่องจากเกษตรกรที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่หลีกเลี่ยงการปลูกพืชที่
หลากหลายเนื่องจากความต้องการแรงงานจะเพิ่มมากขึ้นด้วย (Anderson, 2003, Kasem et al., 2011)
แนวโน้มแรงงานในภาคการเกษตรในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงลดลงเนื่องจากแรงงาน
บางส่วนเคลื่อนย้ายเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม โดยมีอัตราการลดลงอยู่ที่ร้อยละ 5.07 ต่อปี ในช่วง
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 10 และบางส่วนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (อายุมากกว่า 65 ปี) โดยใน