Page 24 -
P. 24

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                                                                                                        24






                                         บทที่  2 ทบทวนวรรณกรรม:เกษตรยั่งยืน




                        การเกษตรมีความสําคัญอย่างยิ่งสําหรับคนไทยและประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่ครัวเรือน

                    ประชากรส่วนมากประกอบอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตรและยังเป็นการเกษตรที่ต้องอาศัยต้นทุน

                    ทางธรรมชาติอยู่มาก ดังนั้นสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ กิจกรรมการเกษตร วิธีการผลิต

                    ทางการเกษตร ตลอดจนเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสนับสนุนการเกษตรย่อมส่งผลต่อการ


                    พัฒนาการเกษตรในอนาคตไม่ว่าจะเป็นเรื่องปริมาณผลผลิตหรือต้นทุนการผลิตทางการเกษตรฯลฯ สิ่ง

                    ต่างๆเหล่านี้ส่งผลทั้งในระดับครัวเรือน อาทิ รายได้ครัวเรือน ความมั่นคงทางอาหารตั้งแต่ระดับ

                    ครัวเรือน ระดับประเทศ ภูมิภาคและระดับโลก จะเห็นได้ว่าวิถีการผลิตทางการเกษตรที่ผ่านมา

                    ก่อให้เกิดปัญหาต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเสื่อมโทรมและลดน้อยถอยลงของ

                    ทรัพยากรดิน นํ้า ป่าไม้ ฯลฯ  การปรับเปลี่ยนวิธีการทําการเกษตรหรือกิจกรรมการเกษตรที่เป็นมิตรต่อ

                    สิ่งแวดล้อม จะส่งผลต่อความยั่งยืนในระยะยาว ดังนั้นส่วนนี้จะกล่าวถึงความสําคัญของการเกษตร

                    ปัญหาที่เกิดจากการเกษตร ภาพรวมของแนวคิด งานวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเกษตรยั่งยืน

                    และนโยบายการเกษตรของประเทศไทย



                         ภาคการเกษตรมีความความเปราะบางสูง (vulnerability) และมีความสุ่มเสี่ยงค่อนข้างมากต่อการ

                    เปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (IPCC, 2007, FAO, 2008) เช่น นํ้าท่วม นํ้าแล้ง ระดับนํ้าทะเลเพิ่มสูงขึ้น

                    งานวิจัยของ FAO (2008) รายงานว่าภูมิภาคที่อยู่ในเขตร้อนชื้น เช่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะได้รับ

                    ผลกระทบความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรงมากที่สุด ความเปราะบาง

                    (vulnerability) ที่เกิดขึ้นนี้เนื่องมาจากวิถีชีวิตการประกอบอาชีพของประชากรและเศรษฐกิจของ

                    ภูมิภาคนี้ส่วนมากต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการเกษตร การประมง  เป็นต้น

                    และยังเกี่ยวเนื่องความมั่นคงทางอาหารของมนุษยชาติอีกด้วยแม้ว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยัง


                    ไม่ได้เผชิญกับความรุนแรงของปัญหาความมั่นคงทางอาหารมากนักเนื่องจากประเทศในภูมิภาค

                    สามารถผลิตอาหารได้มากกว่าปริมาณการบริโภคภายในประเทศ แต่กลับมีอัตราของประชากรที่ขาด

                    สารอาหารที่ค่อนข้างสูง ซึ่งอาจเนื่องมาจากความไม่เพียงพอของอาหารในบางพื้นที่อันเนื่องมาจากการ

                    ลดการผลิต การขาดพื้นที่ในการเก็บอาหารสะสม ข้อจํากัดทางการค้า ความเสียหายของผลผลิตทาง
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29