Page 19 -
P. 19
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
19
ภาคเหนือเป็นอีกภูมิภาคของประเทศไทยที่อาศัยการเกษตรในการดํารงชีวิตของครัวเรือนขนาด
เล็ก โดยภาคเหนือครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 106,027,680 ไร่ ประกอบไปด้วยพื้นที่ป่าไม้ 56,283,599 ไร่
(มีพื้นที่ป่าไม้มากกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่ป่าไม้ของทั้งประเทศ และมากกว่าครึ่งของเนื้อที่ทั้งหมดของ
ภาคเหนือ) พื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร 32,489,678 ไร่ (คิดเป็นร้อยละ 21.77 ของพื้นที่การเกษตร
ของประเทศไทย) ประกอบไปด้วยพื้นที่ นาข้าว 15,787,615 ไร่ พืชไร่ 10,196,289 ไร่ สวนผลไม้ยืนต้น
4,045,517 ไร่ สวนผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ 446,942 ไร่ ที่เหลือเป็นฟาร์มและพื้นที่ใช้ประโยชน์เพื่อ
การเกษตรอื่นๆ (สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2558a) จากข้อมูลปี 2556 พบว่ากว่า 1.3 ล้านครัวเรือน
ในภาคเหนือถือครองพื้นที่ทางการเกษตร โดยจํานวนการถือครองพื้นที่ทางการเกษตรของภาคเหนือ
เป็นอันดับสองของประเทศรองจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น แต่ละครัวเรือนถือครองเนื้อที่เฉลี่ย
อยู่ที่ 20.9 ไร่คิดเป็นอันดับสองรองจากภาคกลางที่ถือครองพื้นที่ 22.7 ไร่/ครัวเรือน (สํานักงานสถิติ
แห่งชาติ, 2556) พื้นที่การเกษตรส่วนมากอาศัยนํ้าฝน และแหล่งนํ้าอื่นๆ โดยมีพื้นที่การเกษตรในเขต
ชลประทานอยู่เพียง 6.14-7.79 ล้านไร่ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2558, วิชัย สุภาโสด, 2558) จึง
เห็นได้ว่าการเกษตรมีความสําคัญต่อวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในภูมิภาคนี้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า
ภูมิภาคอื่นๆของประเทศ
และจากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าภาคเหนือมีความน่าสนใจเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ยังคงมีความ
อุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศป่าไม้มากที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ดังนั้นการที่เกษตรกรจะได้รับ
ประโยชน์จากระบบนิเวศบริการป่าไม้ (ecosystem services)โดยตรงก็มีโอกาสมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ
อาทิ ในเรื่องการเก็บกักนํ้า นอกจากนั้นพื้นที่การเกษตรในภาคเหนือยังเป็นพื้นที่การเกษตรที่ต้องพึ่งพา
นํ้าจากธรรมชาติ ทั้งนํ้าผิวดินและนํ้าบาดาลมากกว่านํ้าชลประทาน นั่นหมายความว่ากิจกรรม
การเกษตรในภาคเหนือมีความสัมพันธ์และได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(climate change) โดยตรงและค่อนข้างมาก ในช่วงที่ผ่านมามักจะพบปัญหาของฝนไม่ตกต้องตาม
ฤดูกาล ปัญหาภัยแล้งและนํ้าท่วม ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการเกษตรในภาคเหนือ จากข้อมูลปริมาณ
ฝนเฉลี่ยในรอบ 30 ปี พบว่าภาคเหนือเป็นภาคที่มีปริมาณนํ้าฝนน้อยที่สุด (กรมอุตุนิยมวิทยา, 2558)
ดังนั้นการจัดการนํ้าจึงเป็นเรื่องสําคัญในการทําการเกษตรในพื้นที่ภาคเหนือ นอกจากนั้นพบว่า
เกษตรกรส่วนใหญ่ในภาคเหนือเป็นเกษตรกรรายย่อยที่มีระดับความรู้ ทักษะ ภูมิปัญญา ตลอดจน