Page 22 -
P. 22

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                                                                                                        22





                    จะอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกันและเกษตรกรจะปลูกพืชชนิดเดียวกันแต่ก็อาจจะมีความนิยมต่อนโยบายใน


                    ระดับที่แตกต่างกันขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง อาทิ ลักษณะทัศนคติของเกษตรกร ลักษณะของพื้นที่

                    เกษตรกรรม รายได้ครัวเรือน แรงงานทางการเกษตร


                         ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้มุ่งที่จะศึกษาทัศนคติ และพฤติกรรมของเกษตรกรรายย่อยของอําเภอ

                    แจ้ห่ม จังหวัดลําปางในการปรับเปลี่ยนกิจกรรมทางการเกษตรหรือการใช้ที่ดิน (land-use measure) เพื่อ

                    พัฒนา ส่งเสริมเกษตรยั่งยืนในระดับครัวเรือนโดยการใช้แบบจําลองทางเลือก (choice experiments) ใน

                    การจําแนกคุณลักษณะที่มีความสําคัญต่อกิจกรรมการเกษตรที่เป็นมิตรกับระบบนิเวศ เพื่อใช้เป็นข้อมูล


                    ในการวิเคราะห์แรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนกิจกรรมทางการเกษตร รวมถึงวิเคราะห์ต้นทุน-

                    ประสิทธิผล (cost-effectiveness analysis) ของนโยบายในแต่ละระดับ ผลของการวิเคราะห์นํามาซึ่งการ

                    เสนอทางเลือกในเชิงนโยบายที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่ภาคเหนือจากการทําความเข้าใจทัศนคติและ

                    ความนิยมของเกษตรกรในระดับครัวเรือน ซึ่งจะเป็นโอกาสในการพัฒนานโยบายการเกษตรที่มีใน

                    ปัจจุบันให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น โดยวิเคราะห์ในเชิงพื้นที่ร่วมกับข้อมูลสารสนเทศ

                    ภูมิศาสตร์เพื่อที่จะเสนอแนะว่าพื้นที่ใดมีความเหมาะสม หรือมีศักยภาพ มีแนวโน้มว่าการดําเนิน

                    นโยบายน่าจะประสบความสําเร็จได้มากกว่าด้วยต้นทุนที่ตํ่าที่สุด
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27