Page 26 -
P. 26
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
26
อาหาร และค่าแรงที่น้อยของเกษตรกรกลุ่มที่ประสบปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารสูงมักพบใน
ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือที่อยู่ห่างไกลจากการคมนาคม โดยเฉพาะเกษตรกรที่มีการถือครอง
พื้นที่ขนาดเล็ก (Isvilanonda et al., 2009) ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Tontisirin et al. (2000) ที่ระบุ
ว่าสภาวะขาดอาหารเป็นผลพวงมาจากความยากจน ดังนั้นการพัฒนาสถานะทางการเงินหรือการพัฒนา
ความสามารถในการพึ่งพิงตนเองผ่านระบบการเกษตรยั่งยืน(Sustainable agriculture) ของเกษตรกร
ขนาดเล็กในชนบทจึงมีความจําเป็น โดยสิ่งที่สําคัญและปรับเปลี่ยนได้ง่ายที่สุดคือกิจกรรมการผลิตของ
ครัวเรือนเกษตรกรเอง
2.1 ความหมายเกษตรยั่งยืน
การทําการเกษตรแบบยั่งยืน เป็นการทําการเกษตรที่อาศัยความเข้าใจในระบบนิเวศธรรมชาติ
ปฏิกิริยา ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่เกื้อกูล อิงอาศัยกัน เป็นระบบการทําการเกษตรที่อาศัยระบบ
นิเวศ ต้นทุนทางธรรมชาติโดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษและทําลายสิ่งแวดล้อม และครัวเรือนของเกษตรกร
ต้องมีความเป็นอยู่ทางสังคมจากการทําการเกษตรยั่งยืนที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ (Earles, 2005) และมี
ความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ แนวคิดเรื่องเกษตรยั่งยืนพัฒนาภายใต้คําต่างๆเหล่านี้ ทางเลือก
(Alternative) อินทรีย์ (Organic) ปฏิรู ป (Regenerative) วัตถุดิบนําเข้าตํ่า (Low-input) ยั่งยืน
(Sustainable) (Allen et al., 1991) ในขณะที่นักวิชาการบางท่านเจาะลึกไปในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากร
และสิ่งแวดล้อม Francis et al. (1988)ได้ให้ความหมายของเกษตรยั่งยืนว่าเป็นกลยุทธ์ในการจัดการ
โดยมีเป้าหมายในการลดต้นทุนการผลิตและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยสามารถสร้างกําไรได้
ตลอดไป นอกจากนั้นก็มีนักวิชาการอีกหลายท่านที่ให้นิยามความหมายของเกษตรยั่งยืนโดยสามารถ
ศึกษารายละเอียดเอกสารอ่านประกอบจาก Gold (2007) ซึ่งสามารถสรุปประมวลได้ว่าเป็นการทํา
การเกษตรที่มีความเหมาะสมในแง่ของระบบนิเวศ และเป็นไปได้ในทางเศรษฐศาสตร์ เกิดคุณค่าและ
ความยุติธรรมของสังคม