Page 27 -
P. 27

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                                                                                                        27





                         ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเกษตรยั่งยืนเป็นการผนวกกระบวนการตามธรรมชาติ/หน้าที่ของระบบนิเวศ


                    เช่น การหมุนเวียนแลกเปลี่ยนสสาร การเก็บกักคาร์บอน ระบบห่วงโซ่อาหารในการควบคุมศัตรูพืช เข้า

                    กับกระบวนการผลิตทางการเกษตรเพื่อที่จะส่งเสริมวัฏจักรและหน้าที่ของระบบนิเวศ  (นิเวศบริการ:

                    Ecosystem services) ให้ดีขึ้น และยังเป็นระบบที่ใช้สารกําจัดศัตรูพืช ปุ๋ ยเคมีให้น้อยที่สุด และยังเป็นการ

                    สร้างองค์ความรู้ ทักษะของชุมชนในการทําการเกษตรให้ดียิ่งขึ้น (Pretty, 2008) นอกจากเกษตรยั่งยืนจะ

                    ให้ความสําคัญกับประโยชน์สูงสุดจากการใช้พื้นที่ทางการเกษตรแล้ว  แต่มิได้หมายความว่าจะเป็นการ

                    ขัดขวางความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการเกษตรแต่หากเป็นการใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและ

                    ผลกระทบน้อยที่สุด  โดยต้องมีการพัฒนาพื้นที่ทางการเกษตร  อาทิ  การลดการชะล้างพังทลายของดิน

                    ลดการสูญเสียแร่ธาตุสารอาหารจากพื้นที่การเกษตรไปกับนํ้าผิวดิน  เพิ่มการปกป้องความหลากหลาย

                    ทางชีวภาพ พัฒนาการจัดการนํ้า ลดการปล่อยมลพิษจากพื้นที่การเกษตร







                    2.2 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทําเกษตรยั่งยืน


                         การพัฒนาระบบการเกษตรนั้นเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัยหลัก อาทิ การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ

                    การเติบโตของจํานวนประชากร  การขยายตัวของเมือง  การพัฒนาคุณภาพชีวิต  (Pisante  et  al.,  2010)

                    ตลาดพลังงานและโลกาภิวัตน์  (Lang  et  al.,  2009,  Ingram  et  al.,  2010)  รวมถึงการจัดการการใช้
                    ประโยชน์ที่ดินและรูปแบบการทําการเกษตรซึ่งมีอิทธิพลต่อความยั่งยืนทางการเกษตร  (Allen  et  al.,

                    1991) นอกจากนั้นการจัดการดินและนํ้าเพื่อการเกษตร การเลือกประเภทและพันธุ์พืชให้เหมาะสม และ

                    การจัดการแรงงานก็มีความสําคัญเช่นเดียวกันเพราะสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตทาง
                    การเกษตร



                         การเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของการจัดการนํ้า ไม่ว่านํ้า
                    แล้ง นํ้าท่วม นอกจากนั้นยังส่งผลต่อรายได้ของเกษตรกรใน 76 จังหวัดของประเทศไทย จากสมการ

                    เศรษฐมิติของสํานักงานวิจัยเศรษฐกิจการเกษตรพบว่ารายได้ของเกษตรกรมีความสัมพันธ์กับอุณภูมิ

                    เฉลี่ยอย่างมีนัยยะสําคัญ (สํานักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร, 2552) นอกจากนั้นยังพบว่าประเทศในเขต

                    เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบทางลบมากที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ซึ่ง
                    อาจจะเนื่องมาจากการที่เศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคนี้อิงอาศัยผลผลิตจากการเกษตร การประมง

                    พื้นที่ชายฝั่งและทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก (FAO, 2008) จากรายงานวิชาการและงานวิจัยหลายๆชิ้น
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32