Page 31 -
P. 31
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
31
ภูมิภาค การกระจายตัวและปริมาณของนํ้าฝนมีความสําคัญต่อการผลิตทางการเกษตรเพราะอาจก่อให้
ความเสียหายต่อพืชผลหรืออาจจะสามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในปีนั้นๆได้ ดังนั้นการเกษตรที่
อาศัยนํ้าฝนเป็นหลักอย่างประเทศไทยการจัดการอนุรักษ์ดินและนํ้ามีความสําคัญมากทั้งแหล่งนํ้าผิวดิน
ที่สะสมตามธรรมชาติเช่น แม่นํ้า ลําคลอง หนองบึง และแหล่งเก็บกักนํ้าที่มนุษย์สร้างขึ้น อาทิ นํ้าเขื่อน
อ่าง เหมือง ฝาย เพื่อมาใช้ในการชลประทานต่อไป
ภาคการเกษตรถูกกล่าวว่ามีส่วนสําคัญที่ทําให้ความต้องการใช้นํ้าเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
โดยเฉพาะการปลูกข้าว (Sangkapitux et al., 2009) ในช่วงฤดูแล้งพื้นที่การเกษตรนํ้าฝนก็ต้องอาศัยนํ้า
ชลประทานมาช่วยในการทําการเกษตร ครัวเรือนเกษตรกรต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องนํ้าอันเนื่องมาจาก
การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เช่น การเผชิญกับสภาวะนํ้าท่วมบ่อยขึ้น การมีช่วงฤดูฝนยาวนานกว่า
ปกติ (Warner et al., 2013) นํ้ามีความสําคัญต่อการทําการเกษตรในเขตภาคเหนือไม่ว่าจะเป็นการเกษตร
ที่อาศัยนํ้าฝนหรือนํ้าจากการชลประทานทั้งชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กที่ถูกสร้าง
ขึ้นโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน อาทิ ฝาย ในช่วงฤดูแล้งพื้นที่การเกษตรนํ้าฝนหลายพื้นที่ก็ต้องอาศัยนํ้า
ชลประทานมาช่วยโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีปริมาณฝนน้อยลง ดังนั้นการจัดการนํ้า(ทั้งนํ้าฝนและนํ้า
ชลประทาน)นอกจากจะสําคัญต่อการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรแล้วยังต้องตอบสนองความต้องการนํ้า
ของภาคส่วนอื่นๆด้วย โดยงานของ Warner et al. (2012) พบว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างเห็นว่าการ
เปลี่ยนแปลงของรูปแบบและปริมาณฝนสัมพันธ์กับความกดดันของสิ่งแวดล้อม และยังส่งผลกระทบ
อย่างมีนัยสําคัญต่อวิถีชีวิต นอกจากนั้นความกดดันของสิ่งแวดล้อมยังส่งผลต่อการลดลงของผลผลิต
ทางการเกษตรและรายได้ของครัวเรือนที่มาจากการเกษตร ที่ผ่านมาได้มีความพยายามในการจัดการนํ้า
ในประเทศไทยโดยการสร้างความเข้มแข็งให้กับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมทรัพยากรนํ้า (Ti
et al., 2001) การจัดการนํ้าที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพจึงมีบทบาทสําคัญต่อคุณภาพของนํ้าและ
ความพอเพียงเมื่อเทียบกับความต้องการใช้นํ้าต่อไป ซึ่งความเป็นจริงปริมาณนํ้าฝนในช่วงสิบปีที่ผ่าน
มาลดลงเพียงเล็กน้อย แต่กลับมีปัญหาการไม่มีนํ้าใช้ในช่วงฤดูแล้งเพราะไม่มีการเก็บกักนํ้าและการ
บริหารจัดการที่ดีในช่วงฤดูฝนนั่นเอง ธเนศ แซวหลี และมัตติกา พนมธรนิจกุล (2556) พบว่าการปลูก
พืชหรือไม้ผลในแถบร่องแล้วปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดินระหว่างแถบร่องนั้นสามารถช่วยเพิ่ม
ประสิทธิภาพการใช้นํ้าสูงสุดและเป็นระบบที่ดีสุดในระบบการเกษตรนํ้าฝนบนที่สูง หรือการปลูกพืช