Page 35 -
P. 35

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                                                                                                        35





                    Carvalho, 2006) นอกจากนั้นการปนเปื้ อนในระบบนํ้าและดินยังส่งผลต่อการลดลงของผลผลิตทาง


                    การเกษตร(Pinstrup-Andersen et al., 1998) ดังนั้น Tscharntke et al. (2012) เสนอแนะว่าควรเน้นที่

                    ความสามารถที่จะรองรับได้ของระบบนิเวศโดยคํานึงถึงประสิทธิภาพของระบบ การใช้เทคโนโลยีที่

                    ก่อให้เกิดความยั่งยืนในการจัดการพื้นที่การเกษตรด้วยการปลูกพืชหลากหลายชนิด การลดการใช้

                    สารเคมีกําจัดศัตรูพืชและใช้ปุ๋ ยอินทรีย์ผสมกับปุ๋ ยเคมี แต่ทว่าปัญหาของโรคพืช แมลง ก็มีความสําคัญ

                    ต่อการผลิตทางการเกษตร ทางเลือกในการป้องกันและการกําจัดศัตรูพืชอื่นๆนอกจากการใช้สารเคมีจึง

                    ถูกนํามาพิจารณาสําหรับการพัฒนาเกษตรยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการใช้พันธุ์พืชที่ต้านทานโรคและแมลง

                    ( Resistant Varieties ) เช่น ข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 90 และ กข 23 เป็นพันธุ์ข้าวที่ต้านทานต่อการเข้าทําลาย

                    ของเพลี้ยกระโดดสีนํ้าตาล หรือพันธุ์ข้าวโพด นครสวรรค์ 1 เชียงใหม่ 90 ที่ต้านโรครานํ้าค้าง (พิมลพร

                    นันทะ, 2536) หรือการใช้ชีววิธี (Biological Control) ซึ่งเป็นการนําสิ่งมีชีวิต อาทิ ไส้เดือนฝอย แมลง


                    (เบียน หํ้า) เชื้อโรคบางชนิด (ไวรัส แบคทีเรีย รา) ควบคุมแมลงศัตรูพืชที่มีผลสําคัญทางเศรษฐกิจ เป็น

                    วิธีการควบคุมศัตรูพืชที่ได้ผลถาวรและระยะยาว คุ้มค่าต่อการลงทุน ช่วยลดปัญหาอันเกิดจากการใช้

                    สารเคมีกําจัดศัตรูพืชที่มีการใช้มากเกินไปและใช้ไม่ถูกวิธี ทําให้เกิดผลกระทบและพิษภัยอันตรายต่อ

                    ผู้ใช้หรือเกษตรกรและต่อผู้บริโภค อีกวิธีในการลดการใช้สารเคมีคือการใช้สารสกัดจากธรรมชาติใน

                    การควบคุมศัตรูพืชแทนสารเคมี อาทิ สะเดา ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน  นอกจากไล่แมลงแล้วยังทําให้แมลง

                    กินอาหารได้น้อยลงและมีสารยับยั้งการเจริญเติบโตตัวอ่อนทําให้แมลงเพศเมียลดการวางไข่และลด

                    การฟักไข่ได้ ซึ่งนอกจากจะเป็นมิตรต่อสุขภาพเกษตรกรและสิ่งแวดล้อมแล้ว ในแง่เศรษฐกิจวัตถุดิบ

                    เป็นของที่หาได้ในประเทศยังช่วยลดการนําเข้าสารเคมี (พิมลพร นันทะ, 2539) การใช้วิธีเขตกรรม

                    (cultural methods) อาทิ การเลือกประเภทพันธุ์พืชปลูกที่มีศัตรูน้อย การเลือกใช้วัสดุคลุมดิน (mulching

                    materials) ควบคุมวัชพืช ทั้งแบบมีชีวิต (ปลูกพืชคลุมดินร่วมกับพืชหลักโดยไม่เก็บเกี่ยว) และไม่มีชีวิต

                    (พลาสติก) หรือการตัดแต่งกิ่งไม้ผลก็ช่วยลดปัญหาจากแมลงศัตรูพืชได้ สําหรับนาข้าวหากขังนํ้าให้มี


                    ระดับลึกสมํ่าเสมอตลอดฤดูการปลูกก็เป็นการจัดการวัชพืชทางหนึ่ง รวมถึงการเลือกช่วงเวลาปลูกให้

                    ไม่ตรงกับระยะที่แมลงและโรคพืชระบาด การปลูกพืชหมุนเวียน (crop rotation) เพื่อลดวงจรชีวิต

                    ศัตรูพืช  อีกทางเลือกในการควบคุมศัตรูพืชที่สําคัญคือการใช้วิธีกลหรือวิธีทางกายภาพ (Mechanical

                    and Physical methods) อาทิ การเก็บวัชพืชไปทําลาย การใช้เครื่องมือกลและเทคนิคอื่นๆ เช่น แสงไฟ

                    ล่อแมลง การฉายรังสีควบคุมการเน่าและศัตรูพืช หรือฉายรังสีเพื่อทําหมันแมลง การใช้กับดักแมลง
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40