Page 40 -
P. 40

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                                                                                                        40





                    9 ได้นําวาระเกษตรอินทรีย์เป็นวาระแห่งชาติ โดยในแผนพัฒนาฯได้ระบุรูปแบบเกษตรยั่งยืนไว้ซึ่ง


                    ประกอบด้วย เกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ เกษตรธรรมชาติ เกษตรทฤษฏีใหม่ และวนเกษตร และ

                    ในแผนพัฒนาฯฉบับที่ 11-12 ให้ความสําคัญกับการรองรับการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงต่างๆที่

                    ส่งผลต่อการทําการเกษตรจะเห็นได้ว่าการดําเนินการตามเป้าหมายและยุทธศาสตร์แผนพัฒนาฯ นั้น

                    ต้องอาศัยการบูรณาการจากภาคส่วนและหน่วยงานต่างโดยการจัดการแบบองค์รวม


                         แนวคิดแบบองค์รวม (holistic approach) มีความจําเป็นในการกําหนดกลยุทธศาสตร์ทาง

                    การเกษตร อาทิการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการนํ้า รูปแบบการใช้ที่ดิน การตลาด นอกจากแนวคิด


                    แบบองค์รวมแล้วนโยบายทางการเกษตรควรที่จะยึดหลักการมีส่วนร่วมจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียและ

                    แน่นอนเกษตรกรเองควรที่จะได้มีส่วนร่วมในการกําหนดนโยบายหรือกิจกรรมการส่งเสริมทาง

                    การเกษตร (Schiavone, 2010) ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม  นโยบายควรที่เหมาะสมควรสามารถ

                    บรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งจะเป็นการเพิ่มสมรรถนะของความ

                    ยืนหยุ่นและยืนหยัดของครัวเรือนเกษตรกรขนาดเล็ก (enhance the resilience) และยกระดับคุณภาพ

                    ชีวิตของเกษตรกรเองด้วย



                         หลากหลายเครื่องมือเชิงนโยบายถูกนํามาใช้สําหรับภาคการเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทําให้

                    ภาคเกษตรยังคงสามารถผลิตสินค้าและบริการทางการเกษตรที่หลากหลาย      ไม่ว่าจะเป็นการควบคุม

                    โดยตรงโดยกฎเกณฑ์ต่างๆ (command and control) หรือการใช้เครื่องมือทางการตลาดทั้งที่บังคับตาม

                    กฎหมาย  (market-based compulsory instruments) เช่น ภาษีและใบอนุญาตทางการค้า  และเครื่องมือ

                    การตลาดโดยสมัครใจ (market-based voluntary instruments) เช่น การให้เงินอุดหนุน เงินสนับสนุนใน

                    โครงการต่างๆ หรือเงินชดเชย (Panayotou, 1994, Zandersen et al., 2009) โดยแนวคิดเรื่องนิเวศบริการ

                    (ecosystem services approach) ถูกพัฒนาและนํามาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างนโยบายทางการตลาด


                    โดยการสร้างแรงจูงใจให้กับเกษตรกรจากเงินชดเชย     เป็นแนวคิดที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายหลังจาก

                    รายงานของ Millennium Ecosystem Assessment (MEA) ได้มีการเสนอนโยบายเกี่ยวกับการชดเชยหรือ

                    การจ่าย  (payment  policies)  เช่น  การจ่ายเพื่อตอบแทนคุณประโยชน์ของระบบนิเวศหรือสิ่งแวดล้อม

                    (Payments  for  Ecosystem  Services:  PES)  แนวคิดนี้นิยมใช้กับการจัดการที่ดินและเริ่มใช้กันอย่าง

                    แพร่หลายมากขึ้นกับการจัดการชายฝั่งทะเล  (Corbera  et  al.,  2009)  PES  ถูกใช้เพื่อเป็นกลไกในการ
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45