Page 44 -
P. 44

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                                                                                                        44





                    ปรับเปลี่ยนกิจกรรมการเกษตรที่ส่งเสริมความยั่งยืน ซึ่ง ความเต็มใจรับของเกษตรกรนั้นสามารถนํามา


                    ประเมินระดับที่เหมาะสมในการปรับเปลี่ยนกิจกรรมทางการเกษตรซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ที่สองของ

                    การศึกษานี้  สําหรับวัตถุประสงค์ที่สามเพื่อค้นหาความแตกต่างของเกษตรกรในการตัดสินใจเกี่ยวกับ

                    การทําการเกษตร โดยการนําลักษณะของไร่นาและลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร

                    วิเคราะห์ร่วมกับความพึงพอใจตามวัตถุประสงค์ที่หนึ่ง ผลการศึกษาส่วนนี้ใช้เพื่อประเมินศักยภาพที่

                    แตกต่างกันในการพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินทางการเกษตร และศึกษาว่าความแตกต่างนี้สัมพันธ์กับ

                    ลักษณะเฉพาะของไร่นาหรือลักษณะของเกษตรกรหรือไม่  วัตถุประสงค์สุดท้ายเพื่อวิเคราะห์แนวโน้ม

                    ว่าพื้นที่ใดน่าจะประสบความสําเร็จในการดําเนินนโยบายยกระดับความมั่นคงทางอาหาร โดยการ

                    วิเคราะห์และจําแนกการประเมินความเต็มใจรับในรูปแบบเชิงพื้นที่ (spatial patterns) โดยใช้ผล

                    การศึกษาตามวัตถุประสงค์ที่สองและที่สามในการวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลเพื่อดูว่าในนโยบายแต่


                    ละระดับจะมีต้นทุนเท่าใด ซึ่งต้นทุนนี้จะเชื่อมโยงกับลักษณะทางเศรษฐกิจสังคมของเกษตรกรและไร่

                    นาด้วย การวิเคราะห์เชิงพื้นที่นี้จะสามารถจําแนกได้ว่าพื้นที่ใดที่สามารถดําเนินนโยบายได้อย่างมี

                    ประสิทธิภาพด้วยต้นทุนตํ่า โดยกรอบการวิจัยแสดงดังภาพที่ 3-1
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49