Page 49 -
P. 49
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
49
ไนโตรเจนถึง 4,000 ล้านบาทต่อปี (กรมวิชาการเกษตร, 2558) การเสนอทางเลือกที่จะปลูกพืชทีใช้นํ้า
น้อยที่มีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ โดยเฉพาะความแห้งแล้งก็อาจจะเป็นอีก
ทางเลือกหนึ่งสําหรับเกษตรกรรายย่อยในภาคเหนือ เนื่องจากพื้นที่การเกษตรส่วนมากพึ่งพิงนํ้าฝนหรือ
นํ้าตามธรรมชาติเป็นหลัก หรือจัดการที่ดินโดยการผสมผสานกิจกรรมต่างๆ เช่น วนเกษตร ไร่นาสวน
ผสม (agroforestry) การเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ ต้นไม้ยืนต้น ร่วมกับการทําการเกษตร หรือทําปศุสัตว์อื่นๆ
โดยประกอบไปด้วยคุณลักษณะ 2 ระดับ คือ
1.1) พืชที่ทนแล้ง พืชที่ใช้นํ้าน้อย การปลูกพืชคลุมดิน (drought resistant cropping) สลับกับการปลูก
พืชเศรษฐกิจหรือพืชเพื่อการยังชีพในครัวเรือน
1.2) เพิ่มพื้นที่ป่าไม้ เพิ่มพื้นที่ทําไร่นาสวนผสม (agroforestry) โดยการปลูกป่า หรือไม้ยืนต้น
ร่วมกับการปลูกพืชอื่นๆ
2) การลดใช้สารเคมีในการเกษตร (use of chemicals)
การลดใช้สารเคมีทางการเกษตรนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อดิน นํ้า ระบบนิเวศ และสุขภาพของ
เกษตรกรแล้วยังเป็นการช่วยให้ผู้บริโภคและครัวเรือนเกษตรกรได้บริโภคผลผลิตทางการเกษตรที่มี
คุณภาพและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยเกษตรกรอาจจะเลือกทางเลือกอื่นมาใช้ทดแทนสารเคมี เช่น การใช้
ปุ๋ ยอินทรีย์ ปุ๋ ยหมัก ฮอร์โมนชีวภาพ การกําจัดวัชพืชโดยเครื่องจักรกล ชีววิธีหรือสารกําจัดวัชพืช
อินทรีย์ โดยทางเลือกระดับของคุณลักษณะประกอบไปด้วย 4 ระดับดังนี้
2.1) การลดใช้สารเคมี 25% จากปริมาณการใช้เดิมและใช้วิธีการทางธรรมชาติ 25%
2.2) การลดใช้สารเคมี 50% จากปริมาณการใช้เดิมและใช้วิธีการทางธรรมชาติ 50%
2.3) การลดใช้สารเคมี 75% จากปริมาณการใช้เดิมและใช้วิธีการทางธรรมชาติ 75%
2.4) การลดใช้สารเคมี 100% จากปริมาณการใช้เดิมและใช้วิธีการทางธรรมชาติ 100%