Page 46 -
P. 46
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
46
3.2 ระเบียบวิธีวิจัย
เนื่องจากประเทศไทยมีครัวเรือนเกษตรกรขนาดเล็กจํานวนมาก และแต่ละครัวเรือนก็มีทางเลือก
และวิธีในการจัดการทางการเกษตรที่แตกต่างกัน หรือให้ความสําคัญกับกิจกรรมการเกษตรที่แตกต่าง
กันแม้ว่าจะอยู่ในสถานการณ์เดียวกันก็ตาม เช่น การจัดการนํ้า การใช้ประโยชน์ที่ดิน จะเห็นได้ว่า
เกษตรกรต้องเผชิญกับทางเลือกในการทําการเกษตรที่หลากหลายอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นในการศึกษาครั้ง
นี้จึงเลือกใช้วิธีการทดลองทางเลือก (Choice Experiments: CE) ในการจําลองทางเลือก และการ
ตัดสินใจเลือกของเกษตรกรไทย เพื่อศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติในการดําเนินกิจกรรมทางการเกษตร
ที่เอื้อต่อเกษตรยั่งยืน ในส่วนนี้จะเป็นการวิจัยแบบสํารวจโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบ
หนึ่งต่อหนึ่งเป็นหลักเพื่อที่จะทําความเข้าใจถึงพฤติกรรมและทัศนคติของเกษตรกรในการทํา
การเกษตร นอกจากนั้นยังใช้การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ร่วมกับข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ โดยมี
ขอบเขตในการศึกษาในภาคเหนือของประเทศไทย และครัวเรือนเกษตรกรรายย่อย
ในการศึกษานี้สามารถแบ่งงานออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ตามวิธีการวิเคราะห์และขั้นตอนการได้มา
ซึ่งข้อมูลโดยส่วนแรกจะเป็นการวิเคราะห์จากแบบจําลองทางเลือก ส่วนที่สองจะเป็นการวิเคราะห์
ต้นทุน-ประสิทธิผลและวิเคราะห์เชิงพื้นที่ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
3.2.1 แนวคิดวิธีทดลองทางเลือก
แนวคิดวิธีทดลองทางเลือกถูกพัฒนามาจากโมเดลทางเลือกในการบริโภคของ Lancaster
(Lancaster, 1966) โดยความพึงพอใจของผู้บริโภคไม่ได้มาจากสินค้าโดยตรง แต่มาจากคุณลักษณะที่
ประกอบกันเป็นสินค้าตัวนั้น (Birol et al., 2007) ที่ทําให้อรรถประโยชน์ของผู้บริโภคเกิดขึ้นอย่างสุ่ม
(random utility) ซึ่งวิธีการศึกษานี้เป็นการสมมุติเหตุการณ์เสมือนจริง (hypothetical assumptions) และ
มีชุดทางเลือก (choice set) เพื่อผู้บริโภคสามารถเลือกว่าชอบทางเลือกใดมากกว่าในกรณีที่มีทางเลือก
มากกว่าสองทาง (Discrete choice model) ซึ่งวิธีการนี้สามารถประเมินได้ว่าผู้บริโภคให้คุณค่าต่อ
ทางเลือกต่างๆและต่อคุณลักษณะของสินค้านั้นๆ (attributes/characteristics) อย่างไร โดยวัดจาก
อรรถประโยชน์สูงสุด (utility maximization) (Davies et al., 2001, Train, 2009) ซึ่งผู้บริโภคจะเลือก