Page 43 -
P. 43

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                                                                                                        43






                                         บทที่  3 กรอบแนวคิดและระเบียบวิธีวิจัย







                         ในส่วนนี้อธิบายถึงวิธีการศึกษา   กรอบแนวคิดความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุประสงค์การศึกษา

                    แนวคิด ทฤษฏีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับวิธีวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย การพัฒนาแบบสอบถาม การเก็บตัวอย่าง และ


                    วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีรายละเอียดในหัวข้อต่างๆดังนี้






                    3.1 กรอบแนวคิดในการวิจัย (conceptual framework)


                         การตัดสินใจของเกษตรกรในกิจกรรมการเกษตรและการวางแผนในการจัดการการใช้ประโยชน์

                    ทางการเกษตรส่งผลกระทบโดยตรงต่อความยั่งยืน การเข้าใจถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของ


                    เกษตรรายย่อยในการดําเนินกิจกรรมทางการเกษตรจะช่วยในการวางแผนวางนโยบายการเกษตรที่มี

                    ประสิทธิภาพในการยกระดับความยั่งยืนทางการเกษตร  ดังนั้นงานวิจัยนี้มีเป้าหมายที่จะศึกษานโยบาย

                    ที่มีความเป็นไปได้ในการนํามาปรับใช้กับเกษตรในอําเภอแจ้ห่ม จังหวัดลําปาง โดยการทําความเข้าใจ

                    ว่าเกษตรกรรายย่อยมีศักยภาพในการพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนในการดําเนินกิจกรรมทาง

                    การเกษตรอย่างไร  โดยวางกรอบตามวัตถุประสงค์การศึกษาโดยมีรายละเอียดดังนี้



                         วัตถุประสงค์ที่หนึ่งเพื่อศึกษาความนิยมหรือความพึงพอใจ (preferences) ของเกษตรกรรายย่อย

                    ต่อคุณลักษณะกิจกรรมเกษตรที่ส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อระบบนิเวศโดยใช้แนวคิด

                    การทดลองทางเลือก (choice experiments) ซึ่งประกอบไปด้วยสองโมเดลคือ Conditional logit model

                    และ Latent Class model ปัจจัยนําเข้าหรือตัวแปรที่ใช้ในการวิเคราะห์ของโมเดลทั้งสองนี้มาจากการ

                    สํารวจด้วยแบบสอบถามและสอบถามถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกนโยบายทางการเกษตรที่

                    ต่างกันของเกษตรกรรายย่อย ผลการศึกษานี้จะช่วยจําแนกปัจจัยหรือคุณลักษณะที่สามารถสร้างแรงจูง

                    ใจให้กับเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตทางการเกษตรเพื่อยกระดับความมั่นคงทางอาหารใน

                    ระดับครัวเรือน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางนโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ


                    นอกจากนั้นผลการวิเคราะห์จากโมเดลสามารถนํามาคํานวณความเต็มใจรับของเกษตรกรในการที่จะ
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48