Page 38 -
P. 38
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
38
นําไปใช้จริงในเชิงปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งให้แนวทางในการค้นคว้ารูปแบบ วิธีการ
รวมถึงเทคนิคในการพัฒนาเกษตรยั่งยืนสําหรับเกษตรกรรายย่อยให้สามารถพึ่งพิงตนเองได้ ในช่วง
แผนพัฒนาฯที่ผ่านมาแม้จะเริ่มกําหนดเป้าหมายเกษตรยั่งยืนตั้งแต่แผนพัฒนาฯฉบับที่ 5 แต่ก็ยังเป็น
การกําหนดยุทธศาสตร์แบบกว้าง มิได้มีเป้าหมายของเกษตรยั่งยืนอย่างชัดเจน (สํานักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2534b)
แนวทางของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) นอกจากจะกําหนดเป้าหมายในการแข่งขัน
ในการเป็นแหล่งเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อผลิตอาหารและสร้างความสามารถในการแข่งขันแล้ว ยังคงยึด
หลักการส่งเสริมให้ทําการเกษตรบนพื้นฐานการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและ
ยั่งยืน เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคง และองค์กรทางการเกษตรเข้มแข็ง โดยการอัญเชิญปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียงนําทาง โดยกําหนดกรอบงานเกี่ยวกับชลประทานขนาดเล็กและการเตือนภัยธรรมชาติด้าน
การเกษตร ส่งเสริมการใช้ปุ๋ ยจากธรรมชาติมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ ยอินทรีย์ ชีวภาพหรือผลิตภัณฑ์
จุลินทรีย์ ส่งเสริมโครงการปรับปรุงและรับรองคุณภาพ กําหนดมาตราฐานสินค้าเกษตรและอาหารตาม
แนวทาง GAP (Good Agriculture Practice) มีการพัฒนาเกษตรอินทรีย์เป็นวาระแห่งชาติ ขับเคลื่อน
สมัชชาเกษตรอินทรีย์มีการบูรณาการในการทํางานรวมกันมีแผนงบประมาณกว่าพันล้านบาท โดย
ส่งเสริมการทําเกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฏีใหม่ เกษตรทางเลือกและคาดหวังที่จะ
ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการทําเกษตรทางเลือกโดยตั้งเป้าให้มูลค่าการส่งออกสินค้า
เกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นร้อยเปอร์เซ็นต์ต่อปี สร้างความเข้าใจกับเกษตรกรผ่านโครงการอบรมต่างๆใน
การบํารุงดินด้วยการเพิ่มอินทรียวัตถุ ลดการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตรโดยตั้งเป้าให้ลดการนําเข้า
สารเคมีให้ได้ร้อยละ 50 พัฒนานวัตกรรมการเกษตรควบคู่กับภูมิปัญญาท้องถิ่น (สํานักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2544, กรมพัฒนาที่ดิน, 2560) เพิ่มมูลค่าสินค้า
เกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหาร ส่วนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554)นั้นได้ให้ค่า
นํ้าหนักในการพัฒนาคนมากขึ้นกว่าแผนพัฒนาฯเดิม โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการ
พัฒนาบนรากฐานความมั่นคงของทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ความสมดุลของระบบนิเวศ และความ
หลากหลายทางชีวภาพ ลดและควบคุมการปลูกพืชเชิงเดี่ยวและลดการนําเข้าสารเคมีให้ไม่เกิน 3.5 ล้าน
ตัน ขยายพื้นที่เกษตรทางเลือก (สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2549)