Page 37 -
P. 37
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
37
แผนพัฒนาฯฉบับที่ 5 (พ.ศ.2525-2529) เริ่มส่งเสริมให้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตต่อไร่แทนการขยาย
พื้นที่ปลูกเนื่องจากการแข่งขันในการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกวัน เร่งกระจายการถือ
ครองกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยส่วนหนึ่งนําพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมที่เหมาะสมกับการทําการเกษตรมาจัดสรรให้
เกษตรกร เร่งเพิ่มรายได้จากการเกษตรโดยการอบรมให้ความรู้เกษตรสมัยใหม่ ผลพวงจากการ
พัฒนาการเกษตรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 ถึง พ.ศ. 2529 ที่เน้นการพัฒนาเกษตรกระแสหลักและเกษตรเคมี
ส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆมากมาย อาทิ ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน ต้นทุนในการทํา
การเกษตรอันเนื่องมาจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรในการเพิ่มผลผลิต หนี้สินอันเนื่องมาจากการทํา
การเกษตร (สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2524)
นโยบายการเกษตรเริ่มปรับโครงสร้างการผลิตให้เข้าสู่การเกษตรแบบยั่งยืนในแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2530-2534)ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2530 เป็นต้นมา เริ่มกําหนดแผล
งานในการวิจัยที่เกี่ยวกับเกษตรยั่งยืนเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น (สํานักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2529) ในแผนพัฒนาฯฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-
2539) เน้นความยั่งยืน สมดุลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ความเป็นธรรม คุณภาพชีวิต และการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติควบคู่กันไป แต่ก็ยังคงกําหนดเป้าหมายการขยายตัวของภาคการเกษตรให้อยู่ที่ร้อย
ละ 3.4 ต่อปี และรายได้เฉลี่ยต่อหัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ต่อปี พร้อมทั้งอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ให้ได้ร้อยละ 25
ของพื้นที่ประเทศ และเร่งรัดในการพัฒนาอนุรักษ์ทรัพยากรดิน แก้ปัญหาคุณภาพดินไม่ว่าจะเป็นดิน
เปรียว ดินเค็มหรือดินขาดแร่ธาตุ และพัฒนาทรัพยากรนํ้าและแหล่งนํ้าอย่างเป็นระบบทั้งลุ่มนํ้าด้วย
วิธีการที่ไม่ยุ่งยากและใช้ทุนน้อย (สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,
2534a) ในขณะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) กําหนดยุทธศาสตร์ในการรักษาขีด
ความสามารถในการแข่งขันทางการเกษตรในตลาดโลก การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ยกระดับคุณภาพ
ชีวิตและสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กร และอีกยุทธศาสตร์ที่สําคัญของแผนนี้คือการพัฒนาและ
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ส่งเสริมให้ปลูกพืชผสมผสานแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว และใช้
ปุ๋ ยอินทรีย์แทนการใช้ปุ๋ ยเคมี การปลูกพืชแนวระดับตามแนวลาดชัน จะเห็นได้ว่าในแผนนี้ส่งเสริม
เกษตรทางเลือกแทนเกษตรกระแสหลักโดยกําหนดรายละเอียดกิจกรรมและแผนงานต่างๆที่ชัดเจน
ยิ่งขึ้น ขยายพื้นที่ทําเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนจํานวน 25 ไร่รวมทั้งการจัดการแผนปฏิบัติให้สามารถ