Page 39 -
P. 39
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
39
ต่อเนื่องมายังแผนพัฒนาฯฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) ซึ่งยังคงยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งของภาค
การเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร โดยคํานึงถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกและสถานการณ์ใน
ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นความผันผวนทางเศรษฐกิจ พลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การ
สร้างภูมิคุ้มกันฐานการผลิตทางการเกษตรที่ให้ความสําคัญเพิ่มมากขึ้น พัฒนาความปลอดภัยของ
อาหาร เพิ่มพื้นที่เกษตรยั่งยืนอย่างน้อยร้อยละ 5 ต่อปีรวมถึงให้ครัวเรือนเกษตรกรสามารถพึ่งพาอาหาร
จากไร่นาตนเองได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 50 (สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,
2554)
ตามแนวพัฒนาฯฉบับที่ 12 (2560-2564) วางเป้าหมายในการพัฒนาการเกษตรให้ก้าวไปสู่ความ
เป็นเลิศด้วยเกษตรยั่งยืน เพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์เป็น 5 ล้านไร่ในปี 2564 (10เท่าจากเดิม) มุ่งเน้นความ
เข้มแข็งของชุมชนและความผาสุขของครัวเรือนเกษตรกร โดยการเพิ่มคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร
ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้ ลดหนี้สินของเกษตรกร รวมทั้งการสร้างความมั่นคงและความภูมิใจใน
อาชีพเกษตรกรเพื่อสร้างแรงงานรุ่นใหม่ และแก้ปัญหาสังคมเกษตรที่ผู้สูงวัย เพิ่มศักยภาพในการ
แข่งขันด้วยเทคโนโลยีการผลิต นวัตกรรมการเกษตร เช่น เครื่องมือการเกษตรที่เหมาะสม เน้นงานวิจัย
เพื่อการพัฒนาการเกษตร เช่นการพัฒนาพันธุ์พืชที่ใช้นํ้าน้อยทนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ดูแลรักษาและใช้ปัจจัยการผลิตที่สําคัญอย่างทรัพยากรดินอย่างเหมาะสมรวมทั้งการบริหารจัดการนํ้า
ในเขตชลประทานหรือพัฒนาแหล่งนํ้าขนาดเล็ก ส่งเสริมการเกษตรที่เป็นมิตรต่อระบบนิเวศ การ
บริหารสินค้าเกษตรทั้งห่วงโซ่อุปทานให้ได้คุณภาพมาตรฐานสําหรับกลุ่มที่มีศักยภาพเพื่อการขยาย
ตลาดหรือการส่งออก (สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2559)
โดยสรุปจะเห็นได้ว่าการพัฒนาช่วงแรกเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและการขยายโครงสร้าง
พื้นฐานโดยเฉพาะในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1-3 และเริ่มการพัฒนาสังคมควบคู่กับการพัฒนา
เศรษฐกิจในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่ 3-5 หลังจากนั้นก็มุ่งพัฒนาภูมิภาคและชนบทในสร้างเสถียรภาพ
ทางเศรษฐกิจในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5-8 ซึ่งในแผนนี้เองที่เริ่มตระหนักถึงผลกระทบจากการพัฒนาการ
เกษตรที่ผ่านมาและเริ่มแผนเกษตรยั่งยืน แม้ในช่วงแรกยังไม่เป็นรูปธรรมมากนักมุ่งเน้นไปที่การวิจัย
เพื่อเกษตรยั่งยืนเป็นหลัก จากแผนพัฒนาฯฉบับที่ 8 เป็นต้นมาเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นโดยเน้นการ
พัฒนาคนและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการเกษตรยั่งยืน/เกษตรทางเลือก และในแผนพัฒนาฯฉบับที่