Page 41 -
P. 41
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
41
เปลี่ยน มูลค่าของทรัพยากรซึ่งไม่ได้เป็นเงินตามราคาตลาด(non-market value)เยี่ยงสินค้าอื่นมาเป็น
แรงจูงใจในรูปตัวเงินให้กับผู้ที่จัดการที่ดินเพื่อให้เกิดดูแลอนุรักษ์ให้การบริการของระบบนิเวศนั้นๆคง
อยู่ (Engel et al., 2008) ในระยะยาวเป็นการอนุรักษ์และป้องกันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวคิดการชดเชยเพื่อรักษาระบบนิเวศนี้ได้ดําเนินการแล้วทั่วโลกกว่า 300 โครงการ (Maynard et al.,
2004) ส่วนมากใช้ในการจัดการเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ การบริการของลุ่มนํ้า การเก็บกัก
คาร์บอนไดออกไซด์ และการจัดการที่ดิน (Wunder, 2005)
PES มีบทบาทสําคัญในการสร้างแรงจูงใจ(ภายนอก)ของเกษตรกรเพื่อการริเริ่มปรับเปลี่ยนวิถี
กิจกรรมทางการเกษตรจากเดิมมาเป็นรูปแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศมากขึ้นซึ่งโดย
ปกติแล้วเกษตรอาจจะไม่เลือกกิจกรรมทางการเกษตรเหล่านั้นมาใช้ (Swinton et al. 2007) หากไม่มี
แรงจูงใจทางด้านการเงิน ดังนั้นนโยบายทางเกษตรในหลายๆแห่งในต่างประเทศ อาทิ ยุโรปและ
อังกฤษ (Defra, 2010) จึงได้ให้ความสําคัญกับนโยบายการชดเชยหรือการจ่ายเงินให้กับเกษตรกรเพื่อ
การอนุรักษ์หรือแม้กระทั้งเวียดนามเองก็ประสบความสําเร็จในโครงการดูแลรักษาประโยชน์ระบบ
นิเวศป่าไม้ด้วยกลไก PES (Pham et al., 2013) สําหรับการจ่ายเงินชดเชยนั้นบางกรณีอาจจ่ายโดยผู้ที่
ได้รับประโยชน์จากบริการของระบบนิเวศนั้นๆ เช่น ผู้ใช้นํ้าและบริษัทผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงาน
นํ้า และในบางกรณีรัฐบาลหรือหน่วยงานการปกครองส่วนท้องถิ่นอาจจะเป็นผู้บริหารจัดการการเงินที่
ได้มาจากประชาชนซึ่งได้รับผลประโยชน์ทางอ้อมกับการบริการของระบบนิเวศนั้นๆ และผู้จ่ายเงินให้
การอนุรักษ์พื้นที่นั้นๆ
นอกจากที่กล่าวมาแล้วเพื่อให้การดําเนินนโยบายทางการเกษตรสัมฤทธิ์ผลมากขึ้นควรจะต้อง
คํานึงถึงอัตราการมีส่วนร่วมในโครงการและลักษณะของการมีส่วนร่วมของเกษตรกร(Crabtree et al.,
1998) รวมถึงลักษณะของพื้นที่ (spatial characteristic) นอกจากนั้นความนิยม หรือความพึงพอใจของ
เกษตรกร (preferences of farmers) ต่อนโยบายในระดับต่างๆก็มีความสําคัญไม่น้อยไปกว่ากันในการ
กําหนดนโยบายที่มีประสิทธิภาพและมีแนวโน้มในการประสบความสําเร็จสูง มีงานวิจัยจํานวนมากที่
เห็นว่าในการประเมินประสิทธิผลของนโยบายควรที่จะทราบลักษณะกิจกรรมการเกษตร ลักษณะของ
เกษตรกร (Brotherton, 1989, Thacher et al., 1996, Ayuk, 1997, Dupraz et al., 2003, Pagiola et al.,
2005, Ruto et al., 2009, Espinosa-Goded et al., 2010) รวมทั้งลักษณะของพื้นที่ (spatial characteristics)