Page 34 -
P. 34

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                                                                                                        34





                    เพิ่มมากขึ้นกว่าการใส่ปุ๋ ยไนโตรเจน ( 24 กิโลกรัมต่อไร่) และยังได้ปลาประมาณ 38 กิโลกรัมต่อไร่อีก


                    ด้วย (ประยูร สวัสดี และคณะ, 2531) หรือจะเป็นการทําวนเกษตร (Agroforestry) ที่คล้ายกับการทํา

                    ฟาร์มผสมผสานแต่เน้นไปที่การป่าไม้ดูแลต้นไม้ใหญ่ควบคู่ไปกับปลูกพืชเกษตรและ/หรือเลี้ยงสัตว์

                    บนพื้นที่เดียวกันในเวลาเดียวกันหรือสลับกันไปคนช่วงเวลาก็ได้ ซึ่งอาจจะเป็นการปลูกต้นไม้กับพืช

                    เกษตร เช่น ไม้ยืนต้นกับกับพืชไร่ หรือจะเป็นต้นไม้กับการเลี้ยงสัตว์ โดยอาศัยมูลสัตว์เป็นปุ๋ ย หรือ

                    ต้นไม้กับพืชไร่และการเลี้ยงสัตว์






                    2.4 การใช้สารเคมีในการเกษตร



                           รูปแบบวิถีการทําการเกษตรได้เปลี่ยนแปลงไปจากในสมัยก่อนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการยังชีพ

                    การเกษตรแบบไร่นาสวนผสม มาเป็นการเกษตรที่เน้นปริมาณผลผลิตจากเกษตรเชิงเดี่ยวเพื่อการ

                    พาณิชย์ การใช้เครื่องจักรกลและปัจจัยการผลิตที่สูง เช่น สารเคมีกําจัดศัตรูพืช ปุ๋ ยเคมี นํ้ามัน เพื่อเพิ่ม

                    ผลผลิตทางการเกษตรเพื่อจะนํามาซึ่งกําไร ผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น (Kasem et al., 2011) เมื่อกล่าวถึง

                    สารเคมีในทางการเกษตรอาจแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่คือปุ๋ ยเคมีและสารกําจัดศัตรูพืช ประเทศไทย

                    นําเข้าสารเคมีเพื่อใช้ในการเกษตรเป็นจํานวนมากต่อปีโดยสถิติการนําเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรมี

                    มากถึง 134,777 ตันและนําเข้าปุ๋ ยเคมีสูตรที่สําคัญถึง 5,415,020 ตัน รวมแล้วประเทศไทยนําเข้าสารเคมี


                    เพื่อการเกษตรเป็นเงินถึง 85,460 ล้านบาท ในปี 2557 (สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2558b)  ซึ่งจาก

                    สถิติย้อนหลังพบว่ามีแนวโน้มการนําเข้าสารเคมีเพิ่มขึ้นเพื่อป้องกันศัตรูพืชและเพิ่มผลผลิตทาง

                    การเกษตร เกษตรกรมากกว่าร้อยละ 80 ใช้สารเคมีในการทําการเกษตร โดยภาคเหนือเป็นภาคที่

                    เกษตรกรเกือบทั้งหมดใช้สารเคมีและใช้ในปริมาณมากที่สุด รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                    และภาคกลางตามลําดับ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2555) ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

                    การใช้สารเคมีเพิ่มขึ้นถึงสี่เท่าในการทําการเกษตร (Panuwet et al., 2012) การใช้สารเคมีอย่างเข้มข้น

                    เป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาสุขภาพของเกษตรกร และปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น การปนเปื้อนของสารเคมี


                    ในแหล่งนํ้าอุปโภค บริโภค ในดิน รวมทั้งอาจจะมีสารตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรหลังจากการเก็บ

                    เกี่ยวซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อความปลอดภัยและคุณภาพของอาหาร (Pinstrup-Andersen et al., 1998,
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39