Page 29 -
P. 29

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                                                                                                        29





                    แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีผู้สูงอายุประมาณร้อยละ 9 ของสมาชิกในครัวเรือนเกษตรกรในขณะที่


                    แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มีเพียงร้อยละ 7 ของสมาชิกในครัวเรือนเกษตรกร(กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,

                    2554) แรงงานก็เป็นอีกปัจจัยที่จะส่งผลต่อความยั่งยืนในการทําการเกษตรทั้งในเชิงคุณภาพและเชิง

                    ปริมาณ จํานวนแรงงานในการภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลงมาในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาโดยการสํารวจ

                    ภาวะการมีงานทําของประชากรของสํานักงานสถิติแห่งชาติ กลุ่มแรงงานภาคการเกษตรของประเทศ

                    ไทยที่มีอายุมากกว่า 40 ปีมีแนวโน้มสูงขึ้นในขณะที่แรงงานที่เป็นคนรุ่นใหม่ในช่วงอายุ 15-24 ปีมี

                    แนวโน้มลดลงอย่างมาก ส่วนกลุ่มอายุ 25-39 ปีก็มีแนวโน้มลดลงเช่นกันแม้จะลดไม่มากเท่าแรงงานที่

                    เป็นคนรุ่นใหม่  จากการสํารวจข้อมูลภาวะเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนและแรงงานเกษตร  ปีเพาะปลูก


                    2551-2555 ของศูนย์สารสนเทศการเกษตร สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร พบว่าครัวเรือนในภาคเหนือ
                    มีแรงงานที่มีอายุระหว่าง 15-64 ปี เฉลี่ยอยู่ที่ 2-3 คนต่อครัวเรือนเท่านั้น (สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร


                    , 2558c) โดยแรงงานในภาคการเกษตรส่วนมากจบการศึกษาระดับประถม (ร้อยละ 60.6) มัธยมต้น

                    (ร้อยละ 13) มัธยมปลายและอาชีวะ (ร้อยละ 12.8) และระดับอุดมศึกษา (ร้อยละ 3) ตามลําดับ ที่เหลือ

                    คือผู้ที่ไม่รู้หนังสือและอื่นๆ(กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2554) การลดลงของแรงงานในภาค

                    การเกษตรโดยเฉพาะแรงงานใหม่ที่เข้าสู่ระบบการเกษตรนั้นเนื่องจากทัศนคติของคนรุ่นใหม่ที่เห็นว่า

                    การทําการเกษตรเป็นงานหนัก รายได้ไม่แน่นอน ต้องพึ่งพิงธรรมชาติมากไม่ว่าจะเป็นสภาพภูมิอากาศ


                    ปริมาณนํ้าฝนซึ่งปัจจัยเหล่านี้ควบคุมได้ยาก ต้นทุนในการทําการเกษตรที่สูงขึ้นทั้งจากการใช้สารเคมี

                    การเกษตรอย่างเข้มข้นและค่าแรงงานทางการเกษตรที่สูงขึ้นเพราะปริมาณแรงงานในภาคการเกษตร

                    ลดลง รวมถึงข้อจํากัดของนโยบายเกี่ยวกับการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรปัจจัยต่างๆเหล่านี้ส่งผล

                    ต่อรายได้สุทธิทางการเกษตรที่ลดลง ถึงแม้ว่าแนวโน้มของแรงงานจะลดลงแต่แรงงานในภาค

                    การเกษตรก็มีการพัฒนาการที่ดีขึ้นในเรื่องการศึกษาโดยพบว่า แรงงานในภาคการเกษตรจบการศึกษา

                    ในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาในปี 2556 มากกว่าปี 2546 ถึงร้อยละ 2.7 (สํานักงานสถิติแห่งชาติ,

                    2547, สํานักงานสถิติแห่งชาติ, 2557) นั่นแสดงว่าแนวโน้มของการเรียนรู้และการปรับตัวของเกษตร

                    น่าจะเป็นไปในทางที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการนําเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้และเป็นการเพิ่ม

                    ความสามารถที่จะเรียนรู้ทําความเข้าใจหาข้อมูลในการยกระดับและพัฒนาการผลิตทางการเกษตรให้


                    เกิดประสิทธิภาพที่สูงขึ้น จะเห็นได้ว่าปัจจัยต่างๆล้วนเกี่ยวโยงกันและส่งผลกระทบถึงกันโยงใยเป็น

                    ลูกโซ่
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34