Page 30 -
P. 30
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
30
กรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นอีกปัจจัยที่มีความสําคัญต่อการตัดสินใจในการทําการเกษตร เนื่องจาก
การเป็นเจ้าของที่ดินหรือกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นสามารถช่วยสร้างแรงจูงใจในการดูแลอนุรักษ์ทรัพยากร
ดินและที่ดิน (Ostrom, 2008) สําหรับประเทศไทยปัญหาเรื่องความเหลือมลํ้าระหว่างคนจนและคนรวย
ยังคงเป็นปัญหาหลัก คนกลุ่มน้อยที่รํ่ารวยเป็นผู้ถือครองที่ดินส่วนใหญ่ของประเทศ ในขณะเดียวกัน
เกษตรกรรายย่อยถือครองที่ดินขนาดเล็กหรือไม่มีที่ดินทํากิน เกษตรกรรายย่อยที่มีการถือครองพื้นที่
ขนาดเล็กมักจะเป็นกลุ่มที่ประสบปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารสูง (Isvilanonda et al., 2009) ใน
ภาพรวมกลุ่มคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีเพียง 10% ถือครองที่ดินถึง 90% ของประเทศ แต่สําหรับ
ภาคการเกษตรพบว่า เกษตรกร 889,022 คน ไร้ที่ดินทํากิน และเกษตรกรอีกจํานวน 517,263 คนที่มี
ที่ดินแต่ไม่เพียงพอในการทํากิน นอกจากนั้นยังมีเกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิในพื้นที่การเกษตรของ
ตนเองอีก 811,279 คน และมีที่ทํากินทับซ้อนในพื้นที่ของรัฐจํานวน 1.15 ล้านคน ในพื้นที่ 21 ล้านไร่
และมีที่ดินทิ้งร้าง 48 ล้านไร่ (ข้อมูลปี 2553) นอกจากนี้ยังมีที่ดินเกษตรกรติดอยู่กับธนาคารเป็นสินเชื่อ
ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan: NPL) และ ทรัพย์สินด้อยคุณภาพ (Non-Performing
Asset: NPA) เกือบ 40 ล้านไร่ (โสภณ ชมชาญ, 2554) เกษตรกรที่ทํากินบนพื้นที่ของรัฐจํานวนมากอาจ
เผชิญกับการไล่ที่ การทําลายพืชผลและการจับกุมในท้ายที่สุด
2.3 การจัดการทรัพยากรนํ้าและดินเพื่อการผลิตทางการเกษตร
นํ้าที่สามารถใช้ประโยชน์ได้มีความสัมพันธ์กับการเกษตรเป็ นอย่างยิ่ง และการจัดการ
ความสัมพันธ์นี้ก็ได้รับความสนใจมากขึ้นเนื่องจากการแข่งขันในการใช้นํ้าในภาคส่วนต่างๆที่สูงขึ้น
ไม่ว่าจะเป็น ภาคอุตสาหกรรม ภาคที่อยู่อาศัย หรือภาคการเกษตร โดยประเทศไทยใช้นํ้าเพื่อการเกษตร
ถึงร้อยละ 95 ของนํ้าจืดจากทั้งประเทศเพื่อเป้าหมายในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรไม่ว่าจะเป็น
เกษตรกรรายใหญ่หรือรายย่อย (Viswanathan et al., 2013) แหล่งนํ้าในการทําการเกษตรมาจากสาม
แหล่งหลักคือ นํ้าฝน นํ้าผิวดิน (นํ้าผิวดิน ที่สะสมตามธรรมชาติคือนํ้าจากแม่นํ้า ลําคลอง หนองบึง และ
แหล่งที่มนุษย์สร้างขึ้น อาทิ นํ้าเขื่อน อ่าง เหมือง ฝาย เพื่อมาใช้ในการชลประทานต่อไป) และนํ้าใต้ดิน
หรือนํ้าบาดาล นํ้าฝนมีบทบาทสําคัญในการทําการเกษตรสําหรับประเทศไทย ส่วนใหญ่ประเทศไทย
ได้รับนํ้าฝนจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และดีเปรสชั่น ซึ่งมีปริมาณแตกต่างกันในแต่ละปีและแต่ละ