Page 33 -
P. 33
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
33
ในการอนุรักษ์ดินและนํ้ามีด้วยกันหลายวิธีสามารถจัดการให้เหมาะสมกับบริบทสภาพแวดล้อม
ของพื้นที่เช่นการปลูกพืชแบบสลับเป็นแถว (Strip Cropping) เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งกับพื้นที่ลาดเท เป็น
การปลูกพืชตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป เช่น ข้าวโพดหรือข้าวไร่ปลูกสลับกับพืชตระกูลถั่วหรือสลับกับหญ้า
เป็นแนวขวางกับความลาดเทของพื้นที่ โดยความกว้างของแถวอาจขึ้นกับประเภทของดินและความ
ลาดเทของพื้นที่โดยอาจมีระยะเฉลี่ยประมาณ 10-30 เมตร ในการปลูกพืชสลับแถวนั้นหากปลูกพืชอายุ
สั้นอาจมีข้อเสียเวลาที่ฝนตกจะทําให้หน้าดินเกิดการชะล้างพังทลายหลังจากเก็บเกี่ยว หากเกษตรกร
สามารถหาพืชข้ามปีมาปลูกสลับกับพืชไร่จะเป็นอนุรักษ์ดินและนํ้าที่ดีกว่า(พิทักษ์ อนทะพันธ์, 2531)
พืชยืนต้นจะช่วยกักตะกอนดินไม่ให้ไหลลงสู่พื้นที่ลุ่มซึ่งนอกจากจะช่วยอนุรักษ์ดินและนํ้าแล้วหาก
เป็นไม้โตเร็วที่มีระบบรากลึกยังช่วยหมุนเวียนแร่ธาตุอาหารได้ดีอีกด้วย การปลูกคลุมดินหรือการใช้
หญ้าคลุมดินเป็นการช่วยในการรักษาความชื้นในดิน ลดปัญหาวัชพืช และยังเป็นการเพิ่มปุ๋ ยอินทรีย์ทํา
ให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น พืชยืนต้นตระกูลถั่วที่มีไนโตรเจนสูงเมื่อตัดคลุมดินแล้วก็จะ
สลายตัวเป็นการเพิ่มไนโตรเจนและปรับปรุงบํารุงดินให้ดีขึ้น การส่งเสริมปลูกพืชล้มลุกระหว่างพืชยืน
ต้นตระกูลถั่วทําให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นจากแร่ธาตุจากการสลายตัวของอินทรีย์ที่ใส่เข้าไป
ดังนั้นการปลูกพืชหมุนเวียนที่หลากหลายก็ส่งผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินและส่งผลต่อผลผลิต
ทางการเกษตรที่เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน การปลูกข้าวสลับกับถั่วทําให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 เมื่อ
เทียบกับการปลูกข้าวเพียงอย่างเดียว (สุทธกานต์ ใจกาวิล และคณะ, 2557) การทําไร่นาสวนผสมหรือ
การทําการเกษตรแบบผสมผสานไม่ว่าจะเป็นปลูกพืชหลากหลาย ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่เดียวกัน
เช่น การเลี้ยงปลาในนาข้าว เลี้ยงผึ้งในสวนผลไม้ ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ทําให้เกิดประสิทธิภาพในการ
ผลิตโดยการอาศัยการเกื้อกูลกันตามระบบนิเวศวิทยา จากงานวิจัยพบว่าการเลี้ยงปลา และแหนแดง
1
(Azolla)ในนาข้าวสามารถเพิ่มผลผลิตทั้งข้าวและปลาได้สูงเมื่อเทียบกับการปลูกข้าวเพียงอย่างเดียว0
เมื่อเกษตรกรได้นําแหนแดงมาเลี้ยงในนาข้าวเป็นการเพิ่มไนโตรเจนให้กับต้นข้าว ผลผลิตข้าวจะได้
1 แสดงปริมาณผลผลิตข้าวและปลาในช่วงฤดูแล้งของปี 2531 (กรณีศึกษานาข้าว อ. พิบูลย์มังสาหาร จังหวัด อุบลราชธานี)โดย
1.การผสมผสานระหว่าง ข้าว+ ปุ๋ ย ( 6 – 6 – 4 ) จะได้ข้าวเปลือก 160 กก./ไร่ และ ปลา 0 กก./ไร่
2.การผสมผสานระหว่าง ข้าว + แหนแดง + ปุ๋ ย ( 0 – 6 – 4 )จะได้ข้าวเปลือก 291 กก./ไร่ และ ปลา 0 กก./ไร่
3.การผสมผสานระหว่าง ข้าว + ปลา + ปุ๋ ย ( 6 – 6 – 4 ) จะได้ข้าวเปลือก 291 กก./ไร่ และ ปลา 46 กก./ไร่
4. การผสมผสานระหว่าง ข้าว + แหนแดง + ปลา + ปุ๋ ย ( 0 – 6 – 4 ) จะได้ข้าวเปลือก 315 กก./ไร่ และ ปลา 84.3 กก./ไร่
หมายเหตุ (x-x-x.) คือ N – P2O5 – K2O กิโลกรัมต่อไร่ ที่มา : ประยูร สวัสดี และคณะ 2531, หน้า 42